เสี่ยง! คนไทยถ่ายเซลฟี่ขณะขับรถสูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย

เสี่ยง! คนไทยถ่ายเซลฟี่ขณะขับรถสูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย

เสี่ยง! คนไทยถ่ายเซลฟี่ขณะขับรถสูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เผยผลวิจัยพฤติกรรมผู้ขับขี่ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่าผู้ขับขี่จำนวนมากยังคงทำกิจกรรมต่างๆ  เช่น การส่งข้อความบนโทรศัพท์มือถือ รับประทานอาหาร เล่นโซเชียลมีเดีย หรือแม้แต่ถ่ายเซลฟี่ ในขณะขับรถ

     ผู้ใช้รถใช้ถนนในฟิลิปปินส์กว่า 42% ยอมรับว่าเคยถ่ายเซลฟี่ขณะขับรถมาก่อน ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนสูงสุดในภูมิภาคนี้ มากกว่าในประเทศจีน (31%) ไทย (30%) อินเดีย (23%) และออสเตรเลีย (7%)

     ส่วนการใช้งานโซเชียลมีเดียขณะขับขี่ก็พบได้กว้างขวางไม่แพ้กัน โดยในประเทศจีน มีการใช้แอพ Weixin ส่งข้อความและแพลทฟอร์มโซเชียลมีเดีย Weibo ในขณะขับรถมากถึง 59% และ 36% ตามลำดับ ส่วนผู้ขับขี่ชาวอินเดียก็เลือกใช้โซเชียลมีเดียบนท้องถนนราว 27% ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ ไทย และออสเตรเลีย มีอัตราการใช้เฟซบุ๊คขณะขับขี่อยู่ที่ 48% 45% และ 16% ตามลำดับ

     สำหรับกิจกรรมอื่นๆ ที่ดึงความสนใจของผู้ขับขี่ไปจากท้องถนน ได้แก่ แอพแชท ที่ใช้กันในขณะขับขี่ซึ่งมีมากถึง 47% ในประเทศไทย ส่วนในอินเดีย พบว่าผู้ขับขี่กว่า 56% สนทนาทางโทรศัพท์ในขณะขับขี่ ขณะที่อีกกว่า 40% รับประทานอาหารและเครื่องดื่มไปด้วย และอีก 55% มักเอื้อมมือไปเปิด-ปิดเพลงขณะขับรถ

 

     ฟอร์ดได้มุ่งมั่นค้นคว้าเพื่อหาแนวทางจัดการกับกิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจของผู้ขับขี่มาแล้วกว่าหนึ่งทศวรรษ และได้พัฒนา เทคโนโลยี ฟอร์ด ซิงค์ ซึ่งเป็นระบบเชื่อมต่อตัวรถเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ ที่พร้อมรับคำสั่งด้วยเสียง ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่า สามารถช่วยให้ผู้ขับขี่มุ่งความสนใจไปที่ท้องถนนได้ แม้ขณะใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องเสียงในรถ ทีมวิจัยของฟอร์ดพบว่า ซิงค์ช่วยลดเวลาที่ผู้ขับขี่ละสายตาไปจากท้องถนนข้างหน้าได้มาก ทั้งยังช่วยลดการเบนรถออกนอกเลนโดยไม่ได้ตั้งใจ เสริมการรักษาความเร็วขณะขับขี่ให้นิ่งกว่าเดิม และยังทำให้ผู้ขับขี่สามารถตอบโต้กับวัตถุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันบนท้องถนนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้อุปกรณ์พกพาต่างๆ โดยไม่เชื่อมต่อกับซิงค์

     “ฟอร์ดพยายามที่จะค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาการเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ขับขี่มานานกว่าสิบปีแล้ว  โดยเราได้สร้างสรรค์นวัตกรรมมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำหรับผู้ขับขี่ที่ใช้โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์ไร้สายประเภทอื่นๆ ขณะขับขี่” พีท ฮาร์ดิแกน ผู้อำนวยการฝ่ายงานวิศวกรรมเพื่อความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของฟอร์ด เอเชียแปซิฟิก กล่าว

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook