ระวัง! โดนปรับ 500 บ. ′โซนนิ่ง′ห้ามจอด 216 เส้นทาง แก้รถติด

ระวัง! โดนปรับ 500 บ. ′โซนนิ่ง′ห้ามจอด 216 เส้นทาง แก้รถติด

ระวัง! โดนปรับ 500 บ. ′โซนนิ่ง′ห้ามจอด 216 เส้นทาง แก้รถติด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร รรท.ผบช.น. ลงนามหนังสือสั่งการ เรื่อง กำชับการปฏิบัติตามข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรเพื่อแก้ไขการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร ถึง ผบก.น.1-9 ผบก.จร. ใจความว่า


     บช.น.พิจารณาออกข้อบังคับพนักงานจราจรในถนนหรือในเส้นทางต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร 216 เส้นทางแล้ว และสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการโฆษณาเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2558

     ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการจราจรเกิดประสิทธิภาพและเห็นผลเป็นรูปธรรม จึงกำชับให้ทุกสถานีตำรวจนครบาลและกองกำกับการดำเนินการกวดขัน จับกุม ดำเนินการกับรถที่ฝ่าฝืนข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทุกราย โดยให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ภายหลังจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ประกาศเรื่องข้อบังคับเจ้าหน้าที่พนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการห้ามหยุดห้ามจอดรถ ห้ามเลี้ยวรถ และกำหนดให้รถเดินได้ทางเดียว ในถนนหรือซอยต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 132 ตอนพิเศษ 326 ง วันที่ 11 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้ทันที

     ซึ่งถนนและตรอกซอยบช.น.ได้ทำการเสนอ โดยห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดทั้งวัน ห้ามจอดรถทุกชนิดตั้งแต่เวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-21.00 น. และจอดได้เฉพาะวันคู่หรือวันคี่เท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันการจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานครติดขัดมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ทำให้ได้รับความเดือดร้อน หากฝ่าฝืนกฎหมายจะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 55(5) ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเขตที่มีเครื่องหมายห้ามจอด มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

     ด้าน พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. ดูแลด้านการจราจร กล่าวว่า กรณีข้อบังคับพนักงานจราจรในถนนหรือในเส้นทางต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 216 เส้นทาง ได้สั่งการเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรกำหนดพื้นที่รับผิดชอบเหมือนกับพื้นที่บนท้องถนนรับผิดชอบ ต่อไปจะมีการออกตรวจสอบแต่ละพื้นที่ว่ามีการดำเนินการหรือไม่ มีรถจอดขวางหรือได้รับการร้องเรียนมา เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่ดูแลพื้นที่นั้นต้องรับผิดชอบ เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดได้

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook