'ไฟตัดหมอก' เปิดพร่ำเพรื่อ-ผิดกฎหมาย!

'ไฟตัดหมอก' เปิดพร่ำเพรื่อ-ผิดกฎหมาย!

'ไฟตัดหมอก' เปิดพร่ำเพรื่อ-ผิดกฎหมาย!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     เชื่อว่าหลายคนยังเข้าใจผิดว่าไฟตัดหมอกเป็นอุปกรณ์เสริมความสวยงามให้กับรถโดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญได้

     ปัจจุบันเรายังสามารถพบเห็นผู้ที่ขับรถโดยเปิดไฟตัดหมอกยามค่ำคืน โดยไม่มีหมอกหรือฝนตกเลยแม้แต่นิดเดียว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นไฟตัดหมอกหน้าหรือหลัง ก็อาจทำให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญ จนอาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้ด้วยเช่นกัน

 

     ไฟตัดหมอกหน้าจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

     1.ไฟตัดหมอกที่ให้ลำแสงพุ่งลงไปยังพื้นถนน จะพบได้ในรถยุโรปและรถญี่ปุ่นบางค่าย ซึ่งไฟตัดหมอกชนิดนี้หลายคนคิดว่าไม่มีประโยชน์ แต่ในขณะที่ขับขี่ท่ามกลางสภาวะหมอกลงจัดนั้น ไฟหน้าทั่วไปจะทำให้เกิดแสงฟุ้งกระจายทั่วบริเวณ ส่งผลให้มองถนนได้ลำบาก แต่ไฟตัดหมอกที่ติดตั้งอยู่ต่ำ จะช่วยส่องพื้นถนนให้มองเห็นเส้นแบ่งเลนได้ชัดเจนขึ้นขณะขับขี่อย่างช้าๆ

     2.ไฟตัดหมอกที่ให้ลำแสงพุ่งไปข้างหน้า ส่วนใหญ่จะพบในรถญี่ปุ่นบางรุ่น ซึ่งมีจุดประสงค์ก็เพื่อให้ผู้ขับขี่ที่สวนทางมา สามารถมองเห็นรถคันที่เปิดไฟตัดหมอกได้จากระยะไกลขณะที่หมอกลงจัด ช่วยเพิ่มความปลอดภัยกับผู้ร่วมทาง

     แต่ทั้งนี้ ไฟตัดหมอกทั้ง 2 ประเภท จำเป็นต้องเปิดขณะหมอกลงจัดหรือฝนตกหนักจริงๆเท่านั้น จึงจะเห็นผลดีที่สุด

 

     ขณะที่ไฟตัดหมอกหลัง มีไว้เพื่อให้ผู้ที่ขับขี่รถตามหลัง สามารถมองเห็นรถคันที่เปิดไฟตัดหมอกได้จากระยะไกลขณะที่หมอกลงจัดหรือฝนตกหนัก ซึ่งปกติไฟตัดหมอกหลังจะมีความเข้มของแสงมากกว่าไฟเบรกเล็กน้อย ซึ่งอาจทำให้ผู้ขับรถตามหลังเกิดความรำคาญได้ หากเปิดใช้งานโดยไม่มีหมอกหรือฝนตก

     ในกรณีที่ขับรถเปิดไฟตัดหมอกโดยไม่มีสาเหตุอันควร ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระบุว่า การใช้ไฟตัดหมอกสามารถใช้ได้ต่อเมื่อรถวิ่งในสภาวะที่มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรคอันเกิดอันตรายในการขับรถ หากมีการใช้ไม่เป็นไปตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

     อย่าลืมว่าไฟตัดหมอกไม่ใช่แฟชั่น แต่เป็นอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย ดังนั้นจึงควรใช้ให้ถูกต้องครับ


 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook