5 อุปกรณ์ในรถที่ไม่ควรซื้อ 'ของปลอม' มาใช้

5 อุปกรณ์ในรถที่ไม่ควรซื้อ 'ของปลอม' มาใช้

5 อุปกรณ์ในรถที่ไม่ควรซื้อ 'ของปลอม' มาใช้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ของแต่งรถหรืออะไหล่รถยนต์บางชิ้นสามารถซื้อหามาเปลี่ยนเองได้ ซึ่งมักมีให้เลือกมากมายหลายเกรด ตั้งแต่ของเกรดล่างราคาถูกจากจีนแดง ไปจนถึงเกรดที่ดีกว่ามาตรฐานผู้ผลิต แต่ก็แลกมาด้วยราคาที่แพงลิบลิ่วจนใครหลายคนถอดใจ

     Sanook! Auto จึงขอแนะนำ 5 อุปกรณ์เสริมในรถที่ไม่ควรซื้อ 'ของปลอม' มาใช้ อาจได้ไม่คุ้มเสีย เสียดายเงิน แถมยังอาจเป็นอันตรายในการขับขี่อีกต่างหาก

 

1.หลอดไฟหน้า

     ปัจจุบันรถยนต์ราคาแพงมักติดตั้งไฟหน้าแบบ HID หรือ LED ที่ให้แสงสว่างและความสวยงามมากกว่าหลอดฮาโลเจนทั่วไป ส่วนใครที่ใช้รถเก่าอยากจะเปลี่ยนไปใช้ HID แท้บ้าง ราคาก็แพงใช่เล่น แถมยังต้องแปลงชุดโคมไฟหน้าใหม่ทั้งหมดเพื่อไม่ให้แยงตาผู้ร่วมทาง

     ดังนั้น จึงมีพ่อค้าหัวใสนำหลอดฮาโลเจนเคลือบหลอดสีฟ้ามาวางจำหน่าย ซึ่งให้แสงอมฟ้ากว่าหลอดฮาโลเจนทั่วไป แต่นั่นก็ต้องแลกมาด้วยความสว่างที่ลดลง แถมดูอย่างไรก็ไม่สวยเท่าหลอด HID/LED แท้ๆอีก หากติดตั้งไม่ดีก็จะทำให้มุมของแสงไม่ได้มาตรฐาน แยงตารถคันอื่นจนเป็นอันตรายอีกต่างหาก

 

2.น้ำมันเครื่อง

     น้ำมันเครื่องปลอมก็มีเช่นกัน ซึ่งน้ำมันเครื่องเหล่านี้จะถูกบรรจุในแพ็คเกจที่ดูเหมือนของแท้เป๊ะ (ส่วนใหญ่ก็เอากระป๋องน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วมาบรรจุใหม่) แต่วางจำหน่ายในราคาถูกแสนถูก มักพบได้บ่อยตามเว็บบอร์ดหรือทางโซเชียลต่างๆ ซึ่งน้ำมันเครื่องเหล่านี้อาจไม่ได้มาตรฐานตามผู้ผลิตกำหนดไว้ ใช้ไปนานๆเครื่องพังใครจะรู้ได้

 

3.ล้อแม็ก

     ล้อแม็กแบรนด์ดังดีไซน์งามมักมาพร้อมราคาที่สูงตามไปด้วย ดังนั้น จึงมีล้อแม็กเทียมที่ดูเผินๆเหมือนของแท้เป๊ะ แต่คุณภาพวัสดุไม่ได้มาตรฐาน หากขับมาด้วยความเร็วสูงแล้วเกิดตกหลุมอย่างรุนแรง อาจทำให้ล้อแตกหัก ควบคุมรถไม่ได้ เกิดอุบัติเหตุตามมาอย่างแน่นอน

 

4.ใบปัดน้ำฝน

     ก้านปัดน้ำฝนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถซื้อหาได้ง่าย มีตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาท ไปจนถึงหลักพันบาท ซึ่งมักมีคุณภาพเนื้อยางต่างกัน ใช้ได้ไม่ทนเท่าที่ควร หรือแย่ที่สุดคือใบปัดอาจฉีกออกจากตัวก้านเมื่อใช้งานไปนานๆ ส่งผลให้เป็นอันตรายขณะขับขี่ท่ามกลางฝนตกได้

 

5.ฟิล์มกรองแสง

     ปัจจุบันมีฟิล์มกรองแสงให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็มีราคาแตกต่างกันไป โดยฟิล์มราคาถูก มักมีประสิทธิภาพกันร้อนได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งแม้ว่าจะไม่ส่งผลต่อการขับขี่โดยตรง แต่อาจทำให้ต้องเสียเงินสองต่อ เพื่อเปลี่ยนเป็นฟิล์มที่มีคุณภาพมากกว่าแทน

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook