ขับรถขึ้น-ลงเขาจะต้องใช้เทคนิคการขับอย่างไร

ขับรถขึ้น-ลงเขาจะต้องใช้เทคนิคการขับอย่างไร

ขับรถขึ้น-ลงเขาจะต้องใช้เทคนิคการขับอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


ช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ ใครที่ไม่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ อยากหนีร้อนไปเที่ยวเขา ขึ้นดอย มาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนขับรถขึ้นเขา ขึ้นดอย กันดีกว่า ...

เมื่อมีความคิดอยากไปเที่ยวป่าหรือขึ้นดอย อยากจะแนะนำเทคนิคการขับรถขึ้น-ลงเขาสำหรับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติอย่างไรให้ปลอดภัย การขับรถขึ้นเขาโดยใช้เกียร์อัตโนมัติในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคยควรใช้ความเร็วต่ำ เมื่อเจอทางชันมากให้เปลี่ยนตำแหน่งเกียร์จาก D เป็น D3 (มีในบางรุ่น) และเมื่อทางชันมากขึ้น ให้ผู้ขับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ 2 ตามความสัมพันธ์ของรอบเครื่องยนต์และความเร็วควรสังเกตุว่าถ้าหากเกียร์เปลี่ยนบ่อยครั้งในการขึ้นทางชันแสดงว่าทางชันมากหรือใช้ความเร็วมากเกินไป ควรรักษารอบเครื่องยนต์ให้คงที่

อย่างไรก็ดี ทางแก้ไขคือใช้ความเร็วต่ำและใช้เกียร์ 2 แต่ไม่ควรใช้รอบเครื่องยนต์สูงเกินไปเพราะจทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักและสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ในการเลี้ยวเข้าโค้งนั้นไม่ควรทับเลนฝั่งตรงข้าม อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงควรปฏิบัติตามป้ายเตือนที่แสดงไว้ข้างทางอย่างเคร่งครัเพื่อความปลอดภัย

ส่วนการขับรถลงเขานั้นก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการขับขึ้นเขาซึ่งสิ่งที่สังเกตเห็นได้จากข้างทางคือป้ายเตือนว่าไม่ควรใช้ความเร็วสูง การขับรถลงเขาที่มีความชันความัชันมากกว่าปกตินั้นผู้ขับต้องใช้ความเร็วต่ำเปลี่ยนเกียร์จาก D มาเป็น  2 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และรอบเครื่องยนต์อาจจะสูงเป็นการใช้แรงฉุดของเครื่องยนต์เพื่อ ช่วยในการเบรกด้วยไม่ควรเหียบเบรกค้างไว้เป้นเวลานานๆ เพราะความร้อนจากหน้าสัมผัสระหว่างผ้าเบรกและจานเบรกจะทำให้ผ้าเบรกไหม้ เบรกไม่อยู่ และน้ำมันเบรกมีความสะสมมากเกินไปซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกต่ำลง  สำหรับการขับแซงรถคันหน้านั้ต้องแน่ใจว่าด้านหน้าของคันที่จะแซงว่างๆจริงๆและไม่ใช่ทางโค้ง เพราะความเร็วกับแรงโน้มถ่วงจะทำให้ใช้กำลังในการเบรกมากกว่าปกติ อาจจะเบรกไม่อยู่อย่างที่ผู้ขับตั้งใจไว้

อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญนอกเหนือเทคนิคการขับขี่ คือการผักผ่อนอย่างเพียงพอการที่ร่างกายอ่อนเพลียจะเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้ใช้รถใช้ถนนคันอื่นๆ และหากต้อวขับรถทางไกลผู้ขับควรพักทุก 2 ชั่วโมงหรือประมาณ 200 กิโลเมตรหรือเมื่อรู้ตัวว่าง่วง ก็ควรปฏิบัติตนตามสโกแสนที่ว่า "ง่วงไม่ขับ"จะดีที่สุด

 

ขอบคุณบทความดีๆจากหนังสือ Honda Automobile

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook