เตรียมรถ เที่ยวป่าไปกับรถ OFFROAD

เตรียมรถ เที่ยวป่าไปกับรถ OFFROAD

เตรียมรถ เที่ยวป่าไปกับรถ OFFROAD
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ไปให้ถึง กลับให้ได้ อาจจะแปลกไปจากเดิมสักหน่อย เพราะเรานำนักเดินทางที่ร่วมออกทริปในแต่ละครั้งมาเป็นผู้ดำเนินเรื่องแทน เพิ่มอรรถรสในการอ่าน ใช้อารมณ์ ความรู้สึกในการเที่ยวป่าของเขามาบอกเล่าเป็นเรื่องราว ผสมกับ TRICK เล็กๆ น้อยๆ ที่ไปสอบถาม จากผู้รู้ที่ช่ำชองเกี่ยวกับเรื่องการขับรถเข้าป่า เป็นความรู้เล็กๆ น้อยๆ แลกเปลี่ยนกัน เพราะในเรื่องเทคนิคการขับรถเข้าป่านั้น ไม่ตายตัว แม้พื้นฐานจะเหมือนๆ กัน เรียกว่าเทคนิคใคร เทคนิคมัน...

 

ขอเริ่มที่เส้นทางภูพญาฝ่อ ซึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปกับชมรมโคราชออฟโรดทีมมาสดๆ ร้อนๆ เราจึงจับ ธวัธชัย ธาราเย็น รองประธานที่ปรึกษาฯ นักธุรกิจเมืองกรุงที่ไปหลงเสน่ห์ป่า ที่แต่งรถแบบเต็มๆ ส่วนอีกคันเป็นรถของ โสภณ ฤทธิ์สำอางค์ สมาชิกที่มี โอกาสเดินทางร่วมกับโคราชออฟโรดทีมเป็นครั้งแรก แต่งสไตล์คล้ายกัน แต่ออปชั่นน้อยกว่า เนื่องจากคันนี้นอกจาก เที่ยวป่าแล้วยังใช้ใน ชีวิตประจำวันอีกด้วย

การตกแต่งรถเพื่อเข้าป่า

     รถของ ธวัธชัย ธาราเย็น ใช้รถ TOYOTA SHEF เครื่องยนต์เป็น 1KZ-TE 3,000 ซี.ซี.เลาะช่วงล่างเดิมทิ้ง หันมาคบกับช่วงล่าง ใหม่ของ TOYOTA LAND CRUISER PRADO โดยมี DIFF LOCKER หน้า-หลัง มาให้พร้อม เปลี่ยนโช้คอัพเป็นของ PROCOMP MX6 ใช้กันสะบัดของ PROCOMP และ ARB ในขณะที่กันชนหน้า-หลัง เป็นของ ARB ทั้งเซ็ต ส่วนไซด์เรล ของ ช่างดอน สูงเนิน นอกจากนี้ด้านหน้ายังใช้วินช์เพลา หรือ PTO ส่วนด้านหลังใส่วินช์ WARN 9,500 ปอนด์ และใส่ยาง 35 นิ้ว ของ SIMEX JUNGLE TREKKER ทดเฟืองท้ายเป็นขนาด 8:39 และใส่สนอร์เกิ้ลของ ZAFARI

 ส่วน รถของ โสภณ ฤทธ์สำอางค์ เป็น TOYOTA HILUX TIGER SPORT CRUISER เครื่อง D-4D ความจุ 3.0 ลิตร เกียร์ออโตเมติก ช่วงล่างปีกนกใช้ชุดของ THE SUN ยกสูงขึ้น 4 นิ้ว เปลี่ยนโช้คอัพเป็น RANCHO RS 9000 ปรับได้ 9 ระดับ ส่วนแหนบด้านหลังใช้ WESTCOAST ใส่ยาง SIMEX JUNGLE TREKKER ขนาด 35 นิ้ว กระทะล้อ 15 นิ้ว เฟืองท้าย 11.41 หากไม่เข้าป่าเจ้าของก็จะเปลี่ยนเป็นยาง MUD TERRAIN ของ BFGoorich ขนาด 35 นิ้ว อุปกรณ์ช่วยต่างๆ ก็มี กันชน หน้า-หลัง สร้างเอง ด้านหน้ามีวินช์ไฟฟ้าของ COMP UP 9500i รวมทั้งต่อท่อหายใจหรือสนอร์เกิ้ลเพิ่ม

แล้วจะขับอย่างไร ไปถึงกลับได้ คนปลอดภัย รถไม่เสียหายล่ะ...

     ไฮไลต์ของภูพญาฝ่อเส้นนี้อยู่ที่การขับขึ้นเนิน-ลงเนิน ถ้าขับแบบประมาท โอกาสเกิดอุบัติเหตุมีสูง เพราะมีเหวอยู่ข้างๆ เกือบตลอดทาง พื้นผิวทางก็ลื่น เนินมีความชื้นสัมพัทธ์สูง การควบคุมรถจะลำบาก จากการได้พูดคุยกับ ธวัธชัย ธาราเย็น และ โสภณ ฤทธิ์สำอางค์ แล้วนำ มาประมวลกับบรรดากูรูหลายๆ ท่าน พอจะขมวดเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขับในเส้นทางออฟโรดประเภทเนินนี้ได้ว่า


     "การขับรถเข้าป่านั้น นอกจากรถจะมีส่วนสำคัญแล้ว รถที่จะเข้าไปเที่ยวป่าควรมีการตกแต่งระดับหนึ่ง โดยเฉพาะระบบช่วงล่าง ถ้ามี อุปกรณ์เสริม เช่น ยาง วินช์ หรือ AIR LOCKER DIFF LOCK เป็นต้น จะช่วยได้เยอะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากรถดี ผู้ขับขี่ขาดทักษะก็เปล่าประโยชน์ รถและคนต้องพร้อมควบคู่กันไป

     อย่างการขับขึ้น-ลงเนิน เราควรปรับเบาะให้ตั้งตรงกว่าปกติ เพิ่มทัศนวิสัยการมองให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการขึ้นเนินนั้น เราจะเห็นก็ แต่ท้องฟ้าและก้อนเมฆ ตามพื้นฐานการขับขี่ที่ถูกต้อง ควรใช้ WALKING SPEED ของเกียร์ 4L ใช้แรงบิดในการไต่ขึ้น และจะ กลาย เป็น ENGINE BRAKE ในทางขาลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นผิว (เปียก-แห้ง ) องศา (ชันมาก-น้อย) และระยะทาง (ยาว- สั้น) ของเนิน และ เราต้องรู้ถึงกำลังเครื่องของรถว่าพอหรือไม่ ควบคุมคันเร่งให้พอที่จะไต่ขึ้นถึงยอดเนิน" โสภณ ฤทธิ์สำอางค์ กล่าว ธวัชชัย ธาราเย็น กล่าวเสริมว่า "อย่างเนินชันยาวของทริปนี้ การใช้ WALKING SPEED อาจไม่พอที่จะทำให้รถขึ้นได้ ผมก็เลยควร เปลี่ยนมาใช้เป็น เกียร์ 2 ที่ 4L และเร่งส่งตั้งแต่ตีนเนินไป การเลือกใช้เกียร์ 2-4 L ก็เพราะยังมีแรงบิด (TORQUE ) ที่สูงและมีความเร็วจัดกว่าเกียร์ 1-4L ทำให้ล้อสามารถหมุนได้จัดกว่าในรอบเครื่องเท่ากัน ในขณะที่เกียร์ 1-4L มีแรงบิดสูงกว่ามาก แต่ความเร็วเป็นรอง"


   "ส่วน ขาลงชาวออฟโรดเราส่วนใหญ่ใช้ WALKING SPEED กันอยู่แล้ว จะทำให้มีความปลอดภัยมากกว่าการใช้เบรกแต่เพียง อย่างเดียว ผมเองก็ใช้เบรกช่วยเหมือนกัน แต่ใช้วิธีเหยียบปล่อยๆ ไม่ได้เหยียบอย่างรุนแรง เพราะล้อจะล็อกทำให้รถพุ่งลงจนควบคุมยาก และขวางลำโดยอัตโนมัติ หรือไม่ก็พลิกคว่ำ ถ้าโชคดีก็สามารถหยุดรถได้ โดยขวางลำอยู่กลางเนิน ปรับทิศทางพวงมาลัยไปใน ทิศทาง ลงเนินให้เข้าเส้นทางเสียก่อน แล้วจึงเคลื่อนที่ลงไป"

ธวัธชัย ธาราเย็น กล่าวต่อว่า "แต่บางกรณีของผม WALKING SPEED มันดึงรถได้ดีเกินไป จะมีอาการคล้ายกับการใช้เบรก ในการขับลงไม่สัมพันธ์กับองศาของเนิน บางทีก็ทำท่าเหมือนขวางลำ ผมก็ใช้วิธีการแก้ไขก็คือ ควรเปลี่ยนจากการใช้เกียร์ 1-4L เป็น 2-4L อาการล้อล็อกก็จะหายไป แต่ถ้าไม่หายรถยังลื่นไถลหรือขวางลำอยู่ มีอีก 2 วิธีปฎิบัติ คือ การเหยียบคลัตช์เพื่อลดการดึงของเกียร์ ก็จะทำให้รถไหลลงเล็กน้อย ทำให้ไม่เกิดอาการขวางลำอีก และเมื่อรถปรับเข้าเส้นทางดีแล้วให้ถอนคลัตช์ทันที เพื่อให้เกียร์ดึงรถต่อไป หรืออีกวิธีหนึ่งที่ปลอดภัยกว่า นั่นคือ การกดคันเร่งเพื่อฉุดให้รถตั้งลำตรง การตบคันเร่งเพียงเล็กน้อยจะสามารถแก้อาการขวางลำได้แล้ว จึงปล่อยให้เกียร์ทำหน้าที่ดึงรถต่อไป


     สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการขับลงเนินในเส้นทางธรรมชาติ ก็ไม่ต่างไปจากการขับขึ้นเนิน โดยเฉพาะอุปสรรคแบบเดียวกัน คือ มีร่องล้อ ไม่ว่าจะเป็น 2 หรือ 3 ร่องก็ตาม ควรเลือกบังคับให้ทั้งล้อหน้าและล้อหลังอยู่ในร่องล้อคู่เดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดการขวางลำจนเสียการ ควบ คุมรถ และไม่จำเป็นต้องปีนออกนอกร่อง เพราะโอกาสที่ใต้ท้องรถจะแขวนในช่วงขาลงนั้นเป็นไปแทบไม่ได้เลย"

     จากที่ได้สอบถามบรรดากูรูเขาเสริมเพิ่มมาให้อีกว่า "เมื่อรถเกิดดับคาเนิน ให้ค่อยๆ ถอยรถลงมาตีนเนิน แล้วทำการเร่งส่งใหม่ วิธีการ นี้จะอันตรายในช่วงการถอย เพราะส่วนใหญ่จะปล่อยรถให้ไหลกลับหลังด้วยเกียร์ว่าง หรือเหยียบคลัตช์ แล้วหวังพึ่งเบรก บางคนปล่อย ให้รถไหลลงมาทั้งๆ ที่เครื่องยนต์ยังดับอยู่ เบรกก็ไม่ทำงาน พวงมาลัยก็ล็อก และอีกวิธีหนึ่งคือ เร่งส่งขึ้นไปแล้วค้างอยู่กลางเนิน เจ้าของ รถค่อยๆ ปล่อยรถลงมาด้วยวิธีการเหยียบคลัตช์ โดยยังคาอยู่ที่เกียร์ 1 ในตำแหน่ง 4L พร้อมกับเร่งส่งสวนทาง เพื่อชะลอความเร็ว หรือ ช่วยเบรกไปในตัว เป็นวิธีการที่ผิดอย่างมาก เพราะเครื่องยนต์อาจจะตีกลับได้ กลายเป็นเรื่องใหญ่โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

วิธี การที่ถูกคือ หยุดรถให้นิ่งสนิท จากนั้นปลดเกียร์ว่างพร้อมกับสตาร์ทเครื่องยนต์ แล้วเข้าเกียร์ถอยหลัง ปลดเบรกมือ เหลือแต่คลัตช์ กับเบรก แล้วค่อยๆ ถอนเท้าทั้งสองข้างออก จนรถเริ่มขยับถอยหลัง เกียร์จะทำหน้าที่ดึงไม่ให้รถไหล ถ้ารู้สึกไม่ปลอดภัย ก็เหยียบเบรก ประคองได้ แต่ห้ามกดจนล้อล็อก และห้ามเหยียบคลัตช์อีกในทุกกรณี จนกว่าจะลงถึงตีนเนิน อีกวิธีหนึ่งก็คือ การบิดกุญแจสตาร์ททั้งที่ เกียร์ยังคาอยู่ (START IN GEAR) แต่ควรเป็นเกียร์ 1-4L และตำแหน่งตัวรถต้องไม่ดับห่างจากยอดเนินมากนัก

     หากระหว่างทางของเนินอันตรายเหล่านั้น มีร่องล้ออยู่ พยายามบังคับให้ล้อทั้ง 4 ลงไปอยู่ในร่องเพื่อเกาะยึด และไม่ลื่นไถล จนเสียการ ทรงตัว ผู้ที่ขาดประสบการณ์มักจะเลือกวิธีการขับคร่อมร่อง โดยคิดว่าหากล้อตกลงไปในท้องร่อง ใต้ท้องอาจจะแขวนได้ แต่ลืมไปว่า ร่องล้อที่อยู่บนเนินชันนั้น ไม่ใช่ร่องตรงๆ จึงมีโอกาสที่ล้อรถจะลื่นไถลตกลงไป หากมีการกระแทกอย่างรุนแรงก็จะทำให้ลูกหมากคันชัก-คันส่งขาดได้ หากร่องลึกจนเกิดการแขวนใต้ท้องได้ก็จริง แต่สามารถถอยหลังกลับลงมาได้ไม่ยากนัก เพราะแรงดึงดูดของโลก

 การ ขับคร่อมร่องล้อที่มีสามร่อง อาจทำให้ล้อคู่หน้าและคู่หลังตกลงไปในร่องคนละคู่ ทำให้เกิดขวางลำขณะกำลังขึ้นเนิน ถ้าไม่มีการ สะดุดก็สามารถปีนออกจากร่องได้ หากว่าร่องล้อที่มีความลึกมาก จำเป็นต้องขับคร่อม ให้สังเกตพื้นผิวบริเวณนั้น แห้งเป็นดินแข็งหรือ เปียกชื้น เพราะหากเป็นพื้นผิวแห้งๆ ก็คร่อมไปได้ แต่ถ้าลื่นอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา ควรช่วยกันถมร่องด้วยหิน ท่อนไม้ และปรับแต่ง เส้นทาง โดยการใช้จอบและเสียมขุดบริเวณที่ติดอกออก เท่านี้ก็เรียบร้อย ข้อระวังอีกอย่างหนึ่ง หากล้อของรถอยู่ในร่อง อย่าพยายาม หัก พวงมาลัยเพื่อปีนออก เพราะเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะผิวดินที่เปียกลื่น ยิ่งฝืนก็ยิ่งทำให้รถเสียการควบคุมมากขึ้น เนื่องจากล้อหน้า จะ ขวางร่อง รถเคลื่อนที่ไปแบบขวางๆ ควรควบคุมพวงมาลัยโดยกำหลวมๆ ล้อก็จะเกาะอยู่ในร่อง ทำให้สามารถบังคับล้อได้ดีกว่า


     เห็นไหมล่ะครับว่า หากเรามีการเตรียมเนื้อเตรียมตัวที่ดี มีทักษะการขับขี่ในระดับหนึ่ง สามารถพิชิตอุปสรรค และช่วยให้ท่องเที่ยว ในป่าเขาลำเนาไพรของเรา เป็นไปอย่างราบรื่นอีกด้วย

ขอบคุณเนื้อหาและภาพจาก นิตยสารออฟโรด


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook