สะพานภูมิพล ..วิสัยทัศน์การคมนาคมจากในหลวง

สะพานภูมิพล ..วิสัยทัศน์การคมนาคมจากในหลวง

สะพานภูมิพล ..วิสัยทัศน์การคมนาคมจากในหลวง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถ้าพูดถึงโครงการพระราชดำริที่มีมากมายหลากหลายทั่วประเทศที่เรารู้จักนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในทุกๆด้านเปรียบได้ดั่งพ่อที่คอยดูแลลูก ประชาชนชาวไทยอย่างไม่เคยเหน็ดเหนื่อย และแม้วันนี้พระองค์ผู้เป็นมิ่งขวัญของชนชาวไทยจะครองราชย์มานานกว่า 60 ปีแล้วนั้น ทว่าพระองค์ท่านก็ไม่เคยหยุดพระราชกรณียกิจที่จะพัฒนาประเทศไทย

หลายคนที่ขับรถผ่านไป-มา แถวถนนพระราม 3 คงจะต้องเคยเห็นสะพานแขวนแห่งใหม่ที่ตั้งตระหง่านมานานหลายปี และเปิดให้ผู้ใช้เส้นทางได้มีโอกาสสัญจรผ่านสะพานดังกล่าวที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าสะพานภูมิพล หรือที่เราอาจเคยเห็นป้ายบอกทางแถวๆนั้น เขียนว่า "สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม" นั่นเอง

สะพานภูมิพลหรือสะพานวงแหวนอุตสาหกรรมนั้น เป็นเส้นทางคมนาคมแห่งใหม่ที่ช่วยสร้างความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นต่อผู้คนที่อาศัยอยู่บนย่านถนนพระราม 3 ที่ต้องการจะสัญจรไปยังทางเขตบางนาให้มีความง่าย-สะดวกมากกว่าเดิมที่เคยเป็น

เริ่มแรกเดิมทีการที่ชาวพระราม3จะเดินทางมายังฝั่งพระประแดงหรือไปยังฝั่งสำโรงนั้นจำต้องเดินทางผ่านเส้นทางของการทางพิเศษที่จะไปตัดลงบริเวณ 4 แยกบางนา เช่นเดียวกับชาวพระประแดงที่ต้องเดินทางไปยังบริเวณสำโรงต้องใช้บริการจากแพขนานยนต์ที่ปัจจุบันก็ยังมีให้บริการอยู่เหมือนเดิม

ด้วยวิสัยทัศน์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เล็งเห็นถึงการสร้างโครงข่ายถนนจากท่าเรือกรุงเทพไปยังเขตอุตสาหกรรมในจังหวัดสุมทรปราการและภูมิภาคอื่นๆ โดยไม่ต้องให้รถบรรทุกวิ่งเข้าไปในตัวเมือง จึงมีพระราชดำริให้ ก่อสร้างสะพานเพื่อเชื่อมต่อระหว่างเขตยานนาวา และเขตราษฏร์บูรณะ เข้ากับอำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานชื่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 แห่ง โดยด้านทิศเหนือเชื่อมกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ ว่า "สะพานภูมิพล 1" ส่วนด้านทิศใต้เชื่อมอำเภอพระประแดงกับตำบลสำโรงใต้ พระราชทานชื่อว่า "สะพานภูมิพล 2" เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2552


สะพานดังกล่าวเป็นสะพานขึงขนาด 7 ช่องทางการจราจร ทำจากปูนคอนกรีตเสริมแรง ที่มีความสูงของสะพานจากแม่น้ำเจ้าพระยากว่า 50 เมตร เพื่อให้เรือขนสินค้านั้นสามารถรอดผ่านได้ โดยในช่วงแรกของสะพานที่มีจุดลงที่ถนนสุขสวัสดิ์นั้นมีความยาวกว่า 326 เมตร ส่วนช่วงที่ 2 ของสะพานที่บรรจบลงถนนปู่เจ้าสมิงพรายนั้นนั้นมีความยาว 398 เมตร และมีความสูง 50 เมตรเช่นกัน

เส้นทางที่เชื่อมระหว่างเขตเมืองกับพื้นที่อุตสาหกรรมและย่านชุมชนอย่างพระประแดง ทำให้ตลอดหลายปีที่ผ่านมาตั้งแต่สะพานเริ่มเปิดใช้อย่างไม่เป็นทางการ ผู้คนในถนนย่านพระราม3 -พระประแดง และปู่เจ้าสมิงพรายได้มีโอกาสใช้เส้นทางดังกล่าวในการไปมาหาสู่ รวมถึงมุ่งหน้าเข้าเมือง ที่ทำให้การเดินทางที่ต้องอ้อมและขึ้นทางด่วนเสียค่าบริการจำนวนมาก กลับจบลงที่เพิ่งการเดินทางไม่ถึง 30 นาที ทำให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะมาจากทางใด

ะพานภูมิพลนี้นับว่าเป็นโครงการพระราชดำริล่าสุด ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อพวกเราจากวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และด้วยพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่เล็งเห็นถึงเส้นทางที่อาจเป็นประโยชน์ ทำให้ในวันนี้เราได้มีสะพานแห่งใหม่ ที่สร้างภูมิทัศน์ที่ดีต่อกรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับประโยชน์ที่เป็นเส้นทางเชื่อมต่อในการดำเนินธุรกิจและไปมาหาสู่ของประชาชน

 

ภาพประกอบจา่ก Wikipedia

Sanook! Auto Comment

 

หลายคนคงจะรู้จักสะพานวงแหวนอุตสาหกรรมกันเป็นอย่างดีในฐานะเส้นทางที่อำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างถนนพระราม 3 ไปยังถนนสุขสวัสดิ์ หรือ ปู่เจ้าสมิงพราย ที่จะเรียกว่าเป็นเส้นทางเดียวที่ใกล้ที่สุด หากคุณอยากเดินทางไปสำโรง หรือมาพระราม 3 โดยไม่เสียเงิน 45 บาท

ทั้งนี้นี่เป็นโครงการพระราชดำริของพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงการสร้างเส้นทางคมนาคมแห่งใหม่ ให้กระชับ และลดความตึงเครียดของการจราจรในเขตเมือง ที่เพราะพระบารมีของท่านทำให้เราได้ลดเวลาการเดินทางและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook