มองมุมล่าง : ขึ้นทางด่วน 5 บาท ประชาชนได้อะไร ..นอกจากเสียตังค์

มองมุมล่าง : ขึ้นทางด่วน 5 บาท ประชาชนได้อะไร ..นอกจากเสียตังค์

มองมุมล่าง : ขึ้นทางด่วน 5 บาท ประชาชนได้อะไร ..นอกจากเสียตังค์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

            ตั้งแต่เป็นข่าวคราวกันมา ในเรื่องค่าครองชีพในการใช้รถใช้ถนน ไม่มีอะไรที่หนักใจไปกว่าราคาน้ำมัน แต่เมื่อพูดถึงว่าเรากำลังจะผจญราคาค่าทางด่วนเพิ่มขึ้น มันก็ทำให้คนกรุงหลายคนหวั่นวิตก ที่เส้นลือดใหญ่ของการจราจรในเมืองกรุงกำลังจะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับคนเมืองรับขวัญเงินค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท

                เหรียญ 5 บาท อีกเหรียญ สำหรับค่าผ่านทางที่เพิ่มมากขึ้นไม่ใช่จำนวนเงินที่มาก เมื่อเทียบกับราคาค่าครองชีพต่างๆ ที่แบงค์ 20 บาท ไม่สามารถใช้อะไรได้อย่างที่คิด แต่เมื่อเงิน 5 บาทจากรถทุกครั้งที่ใช้ทางมารวมกัน จากจำนวนรถที่ใช้ทาง ซึ่ง "อัย ยณัฐ ถินอภัย" ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)  ยอมรับว่าปัจจุบันมีรถใช้ทางถึงวันละ 1.7 ล้านคัน และเมื่อนำเหรียญ 5 ของรถทุกคัน มาคุณเข้าไป เมื่อปรับค่าผ่านทางการทางจะมีรายได้เพิ่มอีกวันละ 8.5 ล้านบาท หรือ อีกเดือนละกว่า 255 ล้านบาท

                สิ่งที่หลายคนเฝ้าถามคือว่า แล้วเราจะได้อะไรกลับมาจากการที่ต้องเสียเงินเพิ่มให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่เป็นผู้ดูแล ระบบทางด่วนทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในชั่วโมงเร่งด่วน ไม่ว่าจะเช้าเย็นกลับกลายเป็นที่จอดรถลอยฟ้าไปโดยปริยาย

                ปัญหาที่คาราคาซังของทางด่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลง ในมุมมองของคนใช้รถนั้น ก็คงไม่พ้นการจราจรบนทางด่วนที่สับสนวุ่นวายมากยิ่งขึ้นและทวีความรุนแรงตลอดทุกปี แง่หนึ่งต้องยอมรับเรื่องรถยนต์ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่ในอีกด้าน การจราจรที่น่าเบื่อหน่ายนี้ก็ทำให้ทางด่วนไม่ใช่ทางสะดวก หรือประหยัดเวลามากขึ้น ตามทิศทางองค์ใหม่ล่าสุด ที่ต้องการปั้นให้เป็น "การเป็นทางเลือกในการเดินทางที่มีความคุ้มค่า" ซึ่งแม้จะมีโครงข่ายทางมาก แต่เส้นทางหลัก อย่างทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 ยังถือเป็นจุดที่คนใช้รถอย่างหนาแน่นเหมือนเดิม

                ความขัดแย้งที่มีอยู่ในตัวเองทำให้หลายคนกังขาในเรื่องราคาที่เพิ่มขึ้น แต่การบริการกลับไม่ได้ดีขึ้น ซึ่งตามหลักของคนจ่ายเงินใช้บริการอะไรสักอย่าง คงไม่เกี่ยงที่จะเจียดเงินอีก 5 บาทให้พนักงานเก็บเงิน แต่ข้อเท็จจริงของทุกคนที่ใช้บริการทางด่วนคือซื้อเวลาในการเดินทางให้สั้นลง ทว่าทุกวันนี้ใครที่ใช้ทางด่วนขาประจำคงจะรู้ดีว่า การเดินทางบนทางด่วนหรือทางธรรมดา ใช้เวลาเดินทางแทบไม่ต่างกันเลย และเรื่องที่สามารถสังเกตได้ชัดเจนคือที่ด่านเก็บค่าผ่านทางใหญ่ๆ เช่นด่านประชาชื่น หรือ ด่านพระราม 9 จะมีจำนวนรถติดสะสมมากทุกเช้าหรือเย็น

                การจราจรที่ชวนเครียด และเวลาที่ไม่สั้นลงไปในการเดินทาง ทำให้ทางด่วนทุกวันนี้ไม่ได้ต่างจากเดินทางะรรมดาทั่วไป อาจจะใช้เวลาพอกันแถมไม่ต้องเสียเงิน 45 บาท สำหรับรถ 4 ล้อทั่วไป  แต่ที่หลายคนใช้เพราะเป็นทางสะดวกมากกว่าเมื่อคิดถึงถนนที่อ้อมโลก จะว่าไปก็ไม่ต่างจากทางลัดเก็บเงินขึ้นไปติดลอยฟ้า

 นอกจากเรื่องของเวลาการเดินทางแล้ว ทางด่วนยังไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางบางกรณี โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่คอยดักจับผู้กระทำความผิด ซึ่งบางข้อหาอย่างการขับรถเร็วเกินกฏหมายกำหนด เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ แต่ในหลายครั้ง เจ้าหน้าที่มีการตั้งจุดสกัดตรวจจับ ในชนิดที่สร้างความเสียอารมณ์ให้กับผู้ขับขี่

                หลายครั้งที่เราเห็นว่าเมื่อจ่ายเงินค่าผ่านทางแล้ว เจ้าหน้าที่ก็โบกคุณเข้าข้างทาง ซึ่งทำให้เสียอารณ์การขับขี่และเสียเวลา แทนที่จะเดินทางให้ถึงที่หมายได้โดยไว แต่ก็กลับต้องมาเสียเวลาต่อการดักจับของเจ้าหน้าที่ ซึ่งแม้จะพอเข้าใจเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ แต่ในทางกลับกันก็สร้างความลำบากต่อผู้ขับขี่ ลองคิดง่ายๆว่าเสียค่าผ่านทางแล้วมาเสียค่าปรับเพิ่มอีก ค่าทางด่วนครั้งเดียวล่อไป 300-400 บาท  หากคนเลี่ยงใครเขาจะไปขึ้ให้เสียอารมร์ เพียงแค่คนส่วนใญ่อยู่ในสภาพจำยอมแค่นั้น

                การขึ้นเงินค่าผ่านทางอีก 5 บาทของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่จะเริ่มขึ้นในเดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป  อาจจะเป็นเงินที่ไม่เยอะมากสำหรับคนใช้รถใช้ถนน หากแต่การทางฯ เองก็ควรจะต้องพิจารณาตัวเองในเรื่องของการอำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้นในการใช้ทาง ไม่ใช่คิดแค่จะเอาเงินประชาชนเพิ่ม แต่ไม่ได้ให้บริการอะไรดีๆเพิ่ม  เหมือนดั่งวิสัยทัศน์ที่ของการทางฯ ที่ เลือกใช้วลีที่ว่า   "ทางเลือกที่คุ้มค่า พัฒนาก้าวไกล ใส่ใจสิ่งแวดล้อม"....แต่ทุกวันนี้สิ่งที่พูดกับสิ่งที่เป็นอยู่มันต่างกัน ..สวัสดี

 

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook