ขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไรไม่ให้รถพัง!

ขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไรไม่ให้รถพัง!

ขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไรไม่ให้รถพัง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     หน้าฝนบ้านเราปีนี้มาพร้อมน้ำท่วมอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว ซึ่งผู้ใช้รถใช้ถนนหลายคนก็ได้รับผลกระทบไปตามๆกัน สิ่งหนึ่งที่เจ้าของรถต้องใส่ใจเป็นพิเศษ คือการขับรถอย่างถูกวิธีขณะผ่านพื้นที่น้ำท่วม เพราะอาจสร้างความเสียหายรุนแรงชนิดยกเครื่องใหม่กันเลยทีเดียว

     คราวนี้ Sanook! Auto จึงขอแนะนำการขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวรถมาฝากกันครับ

     1.เช็คระดับน้ำให้ดี

     โดยปกติแล้วรถเก๋งทั่วไป จะมีความสามารถในการลุยน้ำได้ระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากท่อดูดอากาศจากภายนอกสำหรับเผาไหม้ในเครื่องยนต์จะถูกติดตั้งไว้ด้านล่างของห้องเครื่อง หากระดับน้ำสูงถึงท่อที่ว่านี้รับรองว่าก้านสูบหัก เครื่องยนต์พังอย่างแน่นอน

     ดังนั้นจึงควรตรวจสอบระดับน้ำท่วมขังจะต้องไม่สูงจนเกินไป ทางที่ดีต้องไม่สูงเกินระดับฟุตบาท เพราะแม้ว่าจะดูไม่สูงมาก แต่อย่าลืมว่ารถที่ขับสวนมาอาจทำให้เกิดคลื่นซัด ทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์ได้เช่นกัน

 

     2.เลี่ยงน้ำลึกทุกครั้ง

     ถ้าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องขับรถลุยน้ำ ก็ควรใช้เลนที่มีระดับน้ำต่ำที่สุด เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายให้น้อยที่สุด หากมีทางลัดเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงไปเลยจะดีกว่า ถ้าเครื่องยนต์พังมารับรองว่าไม่คุ้มกันแน่นอน

 

     3.ปิดแอร์เมื่อจำเป็น

     ในขณะขับรถลุยน้ำนั้น หากสังเกตเห็นว่าระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มได้ยินเสียงน้ำกระฉอกบริเวณใต้ท้องรถ แสดงว่าเริ่มอันตรายแล้ว ควรรีบปิดแอร์ทันที เพื่อหยุดการทำงานของพัดลมหม้อน้ำ ไม่ให้พัดเอาน้ำที่ท่วมขังกระจายไปทั่วห้องเครื่อง ซึ่งอาจทำความเสียหายให้กับตัวพัดลมเอง และชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ได้

 

     4.ไม่เร่งเครื่องยนต์

     หลายคนเข้าใจผิดว่าการขับรถลุยน้ำ จะต้องเร่งเครื่องยนต์ให้พุ่งไปข้างหน้าโดยเร็วที่สุด ซึ่งเป็นการกระทำที่อันตรายมาก 'ห้ามทำเด็ดขาด!' เพราะน้ำจำนวนมากจะไหลเข้าทางกระจังหน้ารถ เพิ่มโอกาสให้น้ำถูกดูดเข้าไปยังห้องเผาไหม้ ที่ตัวลูกสูบกำลังถูกชักขึ้นลงด้วยความเร็วสูง ซึ่งจะทำให้ก้านสูบหัก เครื่องยนต์ดับ หากถึงจุดนั้นจริงๆแล้วล่ะก็ ให้คุณเตรียมเงินจ่ายค่ารถลากไว้ได้เลย

 

     5.เช็คของเหลวในเครื่องยนต์หลังจอดรถ

     เมื่อมาถึงจุดหมายแล้ว ควรเช็คของเหลวต่างๆในเครื่องยนต์ โดยเน้นที่น้ำมันเครื่องและน้ำมันเกียร์ ว่าจะต้องไม่มีน้ำเจือปน ซึ่งมีโอกาสน้ำเข้าในกรณีที่มีการรั่วซึมของซีล ปะเก็น ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่อาจตามมาในอนาคต

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook