เช็คก่อน! 'ซ่อมรถ' อย่างไรถึงจะเข้าเกณฑ์ช็อปช่วยชาติ 2559

เช็คก่อน! 'ซ่อมรถ' อย่างไรถึงจะเข้าเกณฑ์ช็อปช่วยชาติ 2559

เช็คก่อน! 'ซ่อมรถ' อย่างไรถึงจะเข้าเกณฑ์ช็อปช่วยชาติ 2559
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     จากกรณีที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยนำค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีในปี 2559 หรือที่รู้จักกันว่า ช็อปช่วยชาติ 2559 นั้น 'ค่าซ่อมรถ' เป็นหนึ่งในรายการที่สามารถนำมาหักลดภาษีได้เช่นกัน ถ้าอย่างนั้นเราไปลองดูกันว่าจะซ่อมรถอย่างไรให้ได้ลดภาษีสูงสุดครับ

     วงเงิน 15,000 บาทถือเป็นจำนวนไม่น้อยเลยสำหรับค่าซ่อมรถ โดยเฉพาะรถที่ยังมีอายุไม่มากซึ่งยังไม่มีปัญหาให้ซ่อมมากมายนัก แต่อย่างไรก็ดี เรามีไอเดียที่จะทำให้คุณสามารถใช้สิทธิ์ได้สูงสุด 15,000 บาท เพื่อจะได้ประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

1.เช็คบำรุงรักษาตามระยะ

     ใครที่ช่วงนี้จำเป็นต้องนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเช็คระยะพอดี สามารถให้ศูนย์ออกใบกำกับภาษีเพื่อนำมาลดหย่อนได้ด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ขึ้นอยู่กับรุ่นรถและระยะทางที่วิ่ง หากเป็นรถญี่ปุ่นอาจไม่กี่พันบาท แต่หากเป็นรถยุโรปหรูก็อาจทะลุหลักหมื่นเลยก็เป็นได้ แต่หากนำรถเข้าอู่นอก อย่างลืมว่าต้องเป็นอู่ที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบได้เท่านั้น

2.เปลี่ยนยางรถยนต์

     ถือเป็นโอกาสทองสำหรับใครที่ต้องการเปลี่ยนยางรถยนต์พอดี เพราะราคายาง 4 เส้น ถ้าเป็นขนาด 15 นิ้ว ก็ตกอยู่ราวหมื่นกลางๆพอดี แถมยังได้ลดภาษีอีกด้วย จะใช้โปรผ่อนยาง 0 เปอร์เซ็นต์ก็สามารถนำไปหักลดได้เช่นกัน จึงถือว่าเป็นอีกแนวทางที่น่าสนใจ

02

3.ซ่อมรถ-เปลี่ยนอะไหล่

     ใครมีความจำเป็นต้องนำรถเข้าซ่อม หรือเปลี่ยนอะไหล่แต่ละชิ้น ก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่สามารถนำค่าใช้จ่ายไปลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าอู่หรือศูนย์บริการที่นำรถเข้าไปซ่อมนั้น จะต้องสามารถออกใบกำกับภาษีได้ และต้องเป็นการซ่อมพร้อมชำระค่าบริการตั้งแต่วันที่ 14 - 31 ธันวาคม 2559 และซ่อมแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ จึงจะสามารถนำมาลดหย่อนได้

4.ซื้อของแต่งรถ

     อุปกรณ์ตกแต่งรถสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นชุดแต่งรอบคัน, ล้อแม็กแต่ง ฯลฯ ซึ่งมีราคาสูงพอสมควร แต่อย่าลืมเลือกร้านให้ดี

5.อะไรบ้างที่ลดภาษีไม่ได้

     ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถที่ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ ค่าน้ำมันรถ, ค่าก๊าซเติมพาหนะ, ค่าประกันรถยนต์ รวมถึงค่าซื้อ, ผ่อนหรือดาวน์รถยนต์/มอเตอร์ไซค์ ก็ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน

     ทั้งนี้ อย่าลืมว่าจำนวนเงินที่สามารถลดหย่อนภาษีได้จริง ขึ้นอยู่กับฐานรายได้ต่อปีของแต่ละคนด้วย ยิ่งมีรายได้มาก ก็จะสามารถลดหย่อนได้มากขึ้น แต่หากมีรายได้น้อย อาจลดหย่อนได้เพียงหลักร้อยหรือไม่ได้เลย ทางที่ดีควรชั่งน้ำหนักว่าคุ้มค่าหรือไม่กับเงินที่ต้องเสียไปครับ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook