ยืดอายุเปลี่ยนถ่าย... ได้อย่างไร

ยืดอายุเปลี่ยนถ่าย... ได้อย่างไร

ยืดอายุเปลี่ยนถ่าย...  ได้อย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยืดอายุเปลี่ยนถ่าย...  ได้อย่างไร

อุตสาหกรรมการขนส่งทางบกในเมืองไทย  ต้องถือได้ว่า  เครื่องยนต์ดีเซลงานหนัก  ได้แก่ รถบรรทุก รถหัวลาก  หรือรถโดยสาร  นับเป็นหัวใจสำคัญของการขนส่ง  ทั้งนี้  สืบเนื่องมาจากเครื่องยนต์ดีเซล  เป็นเครื่องยนต์ที่ให้ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ที่ดีกว่าเครื่องยนต์เบนซิน  ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า  อีกทั้งยังแข็งแรง  และทนทานกว่า  มีค่าบำรุงรักษาน้อยกว่า  จึงทำให้อุตสาหกรรมการขนส่งเดินหน้าเคียงคู่ไปกับเครื่องยนต์ดีเซลงานหนักมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้  ผู้ประกอบการขนส่งล้วนต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ  และลดต้นทุนในการประกอบการทั้งสิ้น  ทั้งจากต้นทุนการใช้เชื้อเพลิงดีเซลก็ดี  หรือต้นทุนจากการบำรุงรักษาก็ดี  โดยหลาย ๆ ผู้ประกอบการมักเลือกที่จะบำรุงรักษาเอง  โดยมีการจ้างช่างมาดูแลรักษา  และซื้ออะไหล่มาทำการซ่อมบำรุงด้วยตัวเอง  รวมถึงมีการซื้อน้ำมันหล่อลื่นมาทำการเปลี่ยนถ่ายตามระยะเองอีกด้วย  ซึ่งหากการเลือกใช้  และการซ่อมบำรุงเป็นไปอย่างมีมาตรฐานตามคู่มือที่กำหนดไว้  ก็ถือได้ว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น  พบว่าส่วนใหญ่ดำเนินการกันอย่างไม่เป็นมาตรฐานเท่าที่ควร  รวมถึงยังมีการใช้น้ำมันเครื่องที่ไม่ถูกต้อง  ไม่เหมาะสมกับสภาพเครื่องยนต์  เช่น  การเลือกน้ำมันเครื่องที่คุณภาพต่ำ  แต่ยืดอายุการเปลี่ยนถ่ายให้ยาวนาน  เพื่อลดค่าใช้จ่าย  โดยน้ำมันเครื่องดีเซลที่ผู้ประกอบการมักเลือกใช้  ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับความหนืด  SAE 40  มาตรฐาน  API CF/CD  หรือความหนืด  SAE 15W-40  มาตรฐาน  API CF-4  เท่านั้น  โดยบางรายอาจยืดอายุการใช้งานกันถึง  12,000  ถึง  18,000  กม.  ต่อการเปลี่ยนถ่ายหนึ่งครั้ง  ทั้ง ๆ  ที่ด้วยคุณภาพน้ำมันเครื่องดังกล่าว  อาจจะสามารถใช้งานได้  แต่จากการใช้เชื้อเพลิงที่ไม่ได้คุณภาพบ้าง  จากการซ่อมบำรุงที่ไม่ได้มาตรฐานบ้าง  จากสภาพเครื่องยนต์ที่ไม่สมบูรณ์  เครื่องยนต์มีสภาพเก่าหลวม  ควันดำ  ซึ่งนอกจากเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพเครื่องยนต์ตก  และบริโภคเชื้อเพลิงมากขึ้นแล้ว  ยังทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมคุณภาพ  เกิดเป็นโคลน  และต้องเปลี่ยนถ่ายเร็วกว่าปกติ  นอกจากนี้หากมีอาการกินน้ำมันเครื่องร่วมด้วย  ยังเสี่ยงต่อความเสียหายต่อเครื่องยนต์จากสภาวะการขาดน้ำมันเครื่องได้อีกด้วย  นั่นอาจส่งผลให้งานเสียหาย  และธุรกิจสะดุดได้  หากเครื่องยนต์ต้องจอดซ่อมบำรุงเป็นเวลานาน 


ด้วยเหตุนี้การซ่อมบำรุงที่ได้มาตรฐาน  รวมถึงการใช้เชื้อเพลิง  และหล่อลื่นที่ถูกต้อง  จึงเป็นหัวใจสำคัญ  ที่ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลของรถบรรทุก  หัวลาก  และรถโดยสารทั้งหลาย  อยู่ในสภาพสมบูรณ์  ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ  ลดต้นทุนการใช้เชื้อเพลิง  ยืดอายุการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เพื่อให้ใช้น้ำมันเครื่องได้เต็มประสิทธิภาพ  ซึ่งนอกจากเสียเวลาในการบำรุงรักษาน้อยกว่าแล้ว  ยังสามารถสร้างงาน และผลกำไรในการประกอบการได้อย่างต่อเนื่อง   เพิ่มพูนความคุ้มค่าในการประกอบการ  และลดความเสี่ยงจากความเสียหายของเครื่องยนต์ที่ไม่คาดคิดได้อีกด้วย   นอกจากนี้ในการทำธุรกิจยุคใหม่  การรักษาผลงาน นับเป็นการรักษาความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ที่สำคัญของบริษัทในการประกอบธุรกิจ น้ำมันหล่อลื่น  DYNAMIC  น้ำมันหล่อลื่นคุณภาพสูง  สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลงานหนัก ต้องถือได้ว่า  ปตท. เป็นตัวจริงของน้ำมันหล่อลื่นลื่นดีเซลงานหนักในประเทศไทย  พิสูจน์ได้จาก  ปตท.  สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดของน้ำมันหล่อลื่นดีเซลงานหนักเป็นอันดับ  1  มาอย่างยาวนานหลายปี  ทั้งนี้  เพราะการคิดค้นและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง  เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ  และตรงกับความต้องการของลูกค้า  โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องยนต์ดีเซลงานหนักของ  ปตท.  ใช้ชื่อว่า  “DYNAMIC”   ทั้งนี้  ไม่ว่าจะเป็นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่  DYNAMIC  EXTRA  LONG  DRAIN  ความหนืด  SAE  10W-40  น้ำมันเครื่องสังเคราะห์  100%  คุณภาพสูงสุด  มาตรฐานสูงสุด  API  CI-4  และ  ACEA  E4  เพื่อช่วยให้สามารถยืดอายุการเปลี่ยนถ่ายได้ยาวนานเป็นพิเศษ  มากกว่า  60,000  กม.*  เหมาะกับผู้ประกอบการที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง  หรือผลิตภัณฑ์  DYNAMIC  XJ  ความหนืด  SAE  40  น้ำมันเครื่องดีเซลเกรดเดี่ยวงานหนักคุณภาพสูงพิเศษ  เหมาะกับรถญี่ปุ่นโดยเฉพาะ  ให้การอายุการเปลี่ยนถ่ายที่ยาวนานกว่าน้ำมันปกติ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องยนต์ดีเซลงานหนัก  ปตท.  มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ด้วยกัน  โดยอาจดูได้จากแผนภาพดังนี้




อย่าลืมนะครับ  ตัวจริงของน้ำมันเครื่องดีเซลงานหนัก  ต้อง  DYNAMIC  เท่านั้น
*  อายุการเปลี่ยนถ่าย  ขึ้นกับสภาพเครื่องและสภาวะการใช้งานของเครื่อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook