กฎเหล็กประหยัดน้ำมัน

กฎเหล็กประหยัดน้ำมัน

กฎเหล็กประหยัดน้ำมัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เสนอแนวทางการปฏิบัติ 3 ขั้น มาแนะนำเพื่อช่วยให้ผู้ใช้รถประหยัดน้ำมันได้ ดังนี้

 

การปฏิบัติขั้นที่ 1 สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้รถทุกวัน มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

- วางแผนก่อนเดินทาง โดยหลีกเลี่ยงการเดินทางในวันและช่วงเวลาที่มีผู้ใช้รถเป็นจำนวนมาก ๆ เพราะหากรถติดอยู่กับที่นาน 30 นาที จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน 750ซี ซี.คิดเป็นเงิน 13.50บาท (18บาท/ลิตร)นอกจากนี้ยังทำให้เสียเวลาด้วย

- ตรวจเช็คลมยาง สิ่งสำคัญสำหรับรถ คือ ยาง ก่อนใช้รถควรตรวจเช็คว่ายางสึกหรอถึงระดับต้องเปลี่ยนหรือยัง และควรเติมลมยางให้เหมาะสมตามที่กำหนด เนื่องจากยางสึกหรอหรือลมอ่อนจะทำให้การทรงตัวของรถไม่ดี และสิ้นเปลืองน้ำมัน และหากความดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐานทุก 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้วจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 2 % เช่น ยางขนาด 195มิลลิเมตร (มม.) ควรเติมลมยางขณะไม่บรรทุก 26 ปอนด์ และยางขนาด 205-235 มม. ควรเติมลมยางขณะไม่บรรทุก 26-29 ปอนด์ เป็นต้น

- เป่าไส้กรองอากาศ การทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุกๆ 2,500 กม./ชม.หรือทุก ๆ 2-4 สัปดาห์ เพราะถ้าไส้กรองอากาศไม่สะอาดแล้ว จะทำสิ้นเปลืองน้ำมัน วันละ 65 ซีซี.

- ขับรถด้วยความเร็วที่เหมาะสม การไม่ขับรถเร็วจนเกินไป ไม่แซงโดยไม่จำเป็น จะประหยัดได้ประมาณ 20% สำหรับอัตราความเร็วที่เหมาะสมในการประหยัดน้ำมันได้มากที่สุดคือ 60-80 กม./ชม.และความเร็วสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับทางธรรมดา คือ 90 กม./ชม.บนทางด่วน 110 กม./ชม.และบนทางมอเตอร์เวย์ 120 กม./ชม.

- บรรทุกของเท่าที่จำเป็น จะช่วยประหยัดได้ประมาณ 15% หากขับรถโดยบรรทุกของที่ไม่จำเป็นประมาณ 10 กิโลกรัม เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 40 ซีซี .

การปฏิบัติการขั้นที่ 2 สำหรับบ้านที่มีรถหลาย ๆ คัน หรือ เพื่อนบ้านที่เดินทางไปทำงานเส้นทางเดียวกัน หรือที่หมายใกล้กันมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

- ทางเดียวกัน...ไปด้วยกัน (Car Pool) เวลาไปไหนมาไหนที่หมายเดียวกัน ทางผ่าน หรือใกล้เคียงกัน ควรไปรถคันเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยแก้ปัญหารถติดได้ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้เราเพลิดเพลิน ช่วยให้ครอบครัวอบอุ่น และมีเพื่อนคุยตลอดการเดินทางด้วย

- ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ในบางวันที่ไม่อยากขับรถ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถส่วนตัวมาทำงาน ก็เปลี่ยนมาใช้รถบริการรถสาธารณะบ้าง... ในบางวัน เช่น รถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ ซึ่งเป็น รถสาธารณะที่ประหยัดที่สุด เรือโดยสาร รถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟฟ้าใต้ดินซึ่งประโยชน์ที่ได้ ก็คือ ช่วยประหยัดค่าน้ำมัน ประหยัดค่าบำรุงรักษารถยนต์ ลดมลพิษทางอากาศ และที่สำคัญช่วยทำให้การจรติดขัดน้อยลง

ปฏิบัติการขั้นที่ 3 ใช้การสื่อสารแทนการเดินทางไปติดต่องานด้วยตนเอง มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

- ใช้อุปกรณ์สื่อสารแทนการเดินทาง เพราะโลกการสื่อสารในปัจจุบันนับว่ารวดเร็วและสะดวกมาก ดังนั้นการติดต่อกันทางโทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เน็ต จดหมายอิเลกโทรนิกส์ (E-mail) หรือการใช้บริการส่งเอกสารแทนการเดินทางจะช่วยให้ประหยัดน้ำมัน และประหยัดเวลาไปได้มากทีเดียว

แนวทางการปฏิบัติทั้ง 3 ขั้น หากผู้ใช้รถนำไปปฏิบัติได้อย่างน้อย 1 ขั้น ก็จะช่วยลดภาระการจ่ายค่าน้ำมันลงได้ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าตัวเอง และประหยัดเงินให้ประเทศชาติอีกด้วย

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook