5 สิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการขับรถ

5 สิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการขับรถ

5 สิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการขับรถ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับรถยนต์และการขับรถอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ที่ขับรถมานานแล้ว หรือแม้แต่ผู้ที่เพิ่งหัดขับรถใหม่ๆ เราลองไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง?

200

1.รถใหญ่กว่าปลอดภัยกว่า

     หลายคนมองว่ารถประเภทเอสยูวีและพีพีวี มีความปลอดภัยกว่ารถเก๋งทั่วไป ซึ่งก็เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว เพราะในกรณีเกิดอุบัติเหตุระหว่างรถเอสยูวีกับรถเก๋ง รถเก๋งมักเกิดความเสียหายมากกว่า เนื่องจากกันชนที่คอยดูดซับแรงกระแทกของรถเก๋งอยู่ต่ำกว่านั่นเอง

     แต่ในอีกแง่หนึ่ง รถเอสยูวีและพีพีวีมีจุดศูนย์ถ่วงสูงกว่ารถเก๋งอยู่มาก ในกรณีขับรถด้วยความเร็วสูงแล้วต้องหักหลบสิ่งกีดขวางอย่างกะทันหัน ตัวรถมีสิทธิ์พลิกคว่ำเสียหลักได้ง่ายกว่ารถเก๋ง ดังนั้น หากบอกว่ารถเอสยูวี/พีพีวีปลอดภัยกว่ารถเก๋ง ก็คงพูดได้ไม่เต็มปาก 100 เปอร์เซ็นต์

 

205

2.รถเก่าเหล็กแข็งกว่ารถใหม่

     หลายคนชอบพูดเสมอกว่าเหล็กรถยนต์รุ่นใหม่ๆ สู้เหล็กรถสมัยก่อนไม่ได้ ทำให้มีโอกาสบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากรถใหม่ได้มากกว่า ซึ่งอันนี้ก็เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวอีกเช่นกัน เพราะขณะที่รถรุ่นใหม่ๆ ถูกหุ้มด้วยเหล็กที่มีความบางลงกว่าแต่ก่อน แต่ก็มีการออกแบบโครงสร้างเพื่อดูดซับและกระจายแรงกระแทกได้ดีกว่ารถรุ่นเก่ามาก ทำให้ตัวรถมีความปลอดภัยมากขึ้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งการใช้เหล็กหนาหรือบางแทบไม่ช่วยอะไรเลย

 

201

3.เกียร์ธรรมดาโบราณกว่าเกียร์ออโต้

     หลายคนมองว่ารถเกียร์ธรรมดาเป็นอะไรที่ล้าหลัง และไม่ควรมีในรถยุคใหม่แล้ว แต่ในความเป็นจริง เกียร์ธรรมดายังคงเป็นที่ชื่นชอบของชาวยุโรปมาก เนื่องจากช่วยส่งถ่ายกำลังจากเครื่องยนต์สู่ล้อได้ดีกว่าเกียร์อัตโนมัติ ประหยัดน้ำมันมากกว่า แถมยังบำรุงรักษาง่ายกว่ามาก อายุการใช้งานของเกียร์ธรรมดาแทบจะเท่ากับอายุการใช้งานรถเลยทีเดียว แต่หากต้องเผชิญรถติดหนักๆ เป็นประจำทุกวัน หลายคนก็ต้องปลื้มเกียร์ออโต้มากกว่าแน่นอน

 

204

4.ซื้อรถแรงไปก็ไม่มีประโยชน์

     รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์แรงๆ ก็ไม่จำเป็นว่าต้องขับเร็วเสมอไป แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่ามันจะไม่มีประโยชน์บนถนนเมืองไทย เพราะเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูงกว่า จะช่วยให้อัตราเร่งดีกว่า ทำให้สามารถเร่งแซงหรือขับขึ้นทางชันได้รวดเร็วมากกว่า ซึ่งถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัยไปในตัวด้วย

 

203

5.มีใบขับขี่แสดงว่าขับรถเป็นแล้ว

     หลายคนยังมีความคิดว่า หากสอบใบขับขี่ผ่าน แสดงว่าขับรถเป็นแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น ใบขับขี่อาจไม่ได้เป็นตัวชี้วัดเสมอไป เพราะคนจำนวนไม่น้อยที่เรียนขับรถเพียงให้พอสอบผ่านเท่านั้น ซึ่งบนท้องถนนจริงมีสถานการณ์มากมายที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ทุกขณะ ดังนั้น แม้ว่าจะได้ใบขับขี่มาครอบครองแล้ว แต่คุณยังจำเป็นต้องเรียนรู้การขับขี่บนท้องถนนอีกเยอะ เพื่อให้รับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีที่สุด

     เป็นอย่างไรบ้างครับ หลายคนมีความเชื่อผิดๆ อย่างที่กล่าวมาข้างต้นกันบ้างหรือเปล่าเอ่ย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook