ท่าทางจับพวงมาลัยที่คุณอาจทำผิดมาตลอด

ท่าทางจับพวงมาลัยที่คุณอาจทำผิดมาตลอด

ท่าทางจับพวงมาลัยที่คุณอาจทำผิดมาตลอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     การจับพวงมาลัยถือเป็นความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่สุด เพราะการจับพวงมาลัยอย่างถูกต้อง สามารถช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าที่คุณคิด

     แต่ปัจจุบันหลายคนถือเอาความสบายของตัวเองเป็นหลักในการจับพวงมาลัย ซึ่งส่งผลกระทบในกรณีรถเกิดการเสียหลัก เนื่องจากเจอแอ่งน้ำ, จั๊มพ์คอสะพาน หรือตกหลุมอย่างรุนแรง ซึ่งการจับพวงมาลัยผิดวิธีจะทำให้แก้อาการตัวรถไม่ทัน ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น ซึ่งท่าทางจับพวงมาลัยแบบผิดๆ ที่หลายคนมักทำกัน มีดังนี้

100

1.จับพวงมาลัยมือเดียว

     หลายคนชอบจับพวงมาลัยด้วยมือข้างเดียว ส่วนแขนอีกข้างก็วางอยู่บนที่พักแขน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นท่าที่สบาย แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงอันตรายได้มากที่สุด เนื่องจากมือข้างเดียวไม่มีน้ำหนักเพียงพอในการควบคุมพวงมาลัยที่สะบัดอย่างรุนแรงเมื่อรถเริ่มเสียหลัก กว่าจะเอามืออีกข้างมาช่วยประคองได้นั้น บางครั้งก็สายเกินไปเสียแล้ว

104

2.จับพวงมาลัยเฉพาะส่วนล่างหรือส่วนบน (บริเวณ 6 หรือ 12 นาฬิกา)

     ท่าทางการจับพวงมาลัยแบบนี้มักพบได้ในคุณผู้หญิง ที่มักจะจับเฉพาะส่วนบนสุด หรือส่วนล่างสุดของพวงมาลัย หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ทำให้พวงมาลัยสะบัด ก็จะไม่มีแรงยึดพวงมาลัยเพียงพอแม้ว่าจะจับด้วยมือทั้งสองข้างก็ตาม

102

3.วางมือไว้บริเวณก้านพวงมาลัยหรือแตร

     หลายคนชอบวางมือไว้บริเวณก้านพวงมาลัยหรือแตร โดยให้เหตุผลว่าช่วยให้กดแตรได้สะดวกรวดเร็ว และยังช่วยผ่อนคลายมือไปในตัวด้วย แต่การจับพวงมาลัยลักษณะนี้ จะทำให้ผู้ขับขี่หมุนพวงมาลัยไม่สะดวก เนื่องจากน้ำหนักที่ถูกกดอยู่บริเวณใกล้กับกึ่งกลางพวงมาลัย แม้ว่าจะมีประสิทธิภาพช่วยล็อคพวงมาลัยไม่ให้สะบัดเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินได้ แต่ก็ส่งผลให้หมุนพวงมาลัยเพื่อแก้อาการส่ายของตัวรถได้ลำบากขึ้น

101

การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องทำอย่างไร?

     การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องควรวางมือไว้บริเวณ 9 และ 3 นาฬิกา โดยให้อุ้งนิ้วโป้งวางอยู่บนก้านพวงมาลัย วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้พวงมาลัยสะบัดได้ดีที่สุด เนื่องจากมีแรงกดทั้งซ้ายและขวาเท่าๆ กัน และยังช่วยให้สามารถเปิดไฟเลี้ยวหรือไฟสูงได้สะดวกที่สุดด้วย

     แม้ว่าในทางปฏิบัติเราคงจับพวงมาลัยท่าเดียวนานๆ ไม่ไหว แต่อย่างน้อยเมื่อเราขับรถด้วยความเร็วสูง ก็ควรจับพวงมาลัยให้ถูกต้องไว้ก่อนเสมอ แต่หากขับขี่ในเมืองที่จราจรติดขัด หรือใช้ความเร็วไม่สูงนัก ก็พออนุโลมให้จับพวงมาลัยตามถนัดได้ครับ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook