ฟิล์มกันหยดน้ำกระจกรถช่วยขับขี่ปลอดภัย

ฟิล์มกันหยดน้ำกระจกรถช่วยขับขี่ปลอดภัย

ฟิล์มกันหยดน้ำกระจกรถช่วยขับขี่ปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนอากาศแปรปรวน มีฝนตกนอกฤดูอยู่บ่อยครั้ง ทำให้อาจมีอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นง่าย นอกจากพื้นถนนที่ลื่นแล้ว เม็ดฝนที่เกาะเป็นหยดน้ำบนผิวกระจกโดยเฉพาะกระจกมองข้างรุยนต์ยังบดบัง ทัศนวิสัยในการมองเห็นของผู้ขับขี่ ซึ่งเป็นปัญหามากทีเดียว ล่าสุดทีมวิจัยได้พัฒนา “กระจกชอบน้ำ” (Hydrophilicmirror) สำหรับใช้ผลิตกระจกข้างรถยนต์ มีคุณสมบัติกระจายตัวของหยดน้ำลดฝ้ามัว เพิ่มความชัดเจนและคมชัดในการมองรถด้านหลังในระหว่างการขับรถกรณีที่ฝนตกได้ ดีขึ้น

นักวิจัยกลุ่มฟิล์มบางแสง หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้ทำการศึกษาถึงลักษณะของกระจกทั่วไปเมื่อโดนน้ำฝนจะมีลักษณะเป็นหยดน้ำ เม็ดใหญ่ๆ ทำให้มองเห็นได้ยาก แต่กระจกที่ทีมวิจัยได้พัฒนาขึ้นได้มีการใช้เทคโนโลยีการเคลือบแบบสปัตเตอริ่ง (Sputtering) เพื่อเคลือบฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์ เป็นชั้นหนา 200 นาโนเมตร และซิลิกอนไดออกไซด์ หนา 20 นาโนเมตร ไว้บริเวณที่ผิวหน้ากระจก ซึ่งเมื่อกระจกดังกล่าวได้รับแสงแดด แสงจะกระตุ้นให้อนุภาคที่เคลือบไว้เกิดปฏิกิริยาแตกตัวเป็นประจุได้ เมื่อฝนตกมีน้ำมาเกาะ ประจุดังกล่าวจะทำปฏิกิริยากับน้ำและเหนี่ยวนำให้เกิดกลุ่มไฮดรอกซิล ไอออน ซึ่งมีคุณสมบัติ “ชอบน้ำ” ทำให้น้ำที่เกาะแผ่นแบบบนผิวกระจก ช่วยให้แห้งเร็วไม่รวมตัวเป็นหยุดน้ำเม็ดใหญ่ๆ หรือหากโดนไอน้ำก็จะไม่ทำให้แผ่นกระจกเกิดการฝ้ามัว สารไทเทเนียมไดออกไซด์ยังมีคุณสมบัติพิเศษช่วยทำความสะอาดสารอินทรีย์ที่มา เกาะที่พื้นผิวได้ กระจกจึงสามารถทำความสะอาดตัวเอง แม้กระจกจะได้รับแสงแดดช่วงกลางวันเพียงครั้งเดียว ก็สามารถรักษาสภาพชอบน้ำได้มากกว่า 1 สัปดาห์

นายมติ ห่อประทุม นักวิจัยกลุ่มฟิล์มบังแสงกล่าวว่า กระจกชอบน้ำที่พัฒนาขึ้นจะมีการนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตกระจกข้างรถยนต์ สำหรับมองหลัง เพราะกระจกหน้ารถยนต์เหมาะสำหรับสภาพหยดน้ำโดนลมจะวิ่งขึ้นไปด้านบน ขณะที่กระจกมองข้างไม่โดนลมจึงทำให้หยดน้ำเกาะอยู่มาก ซึ่งขณะนี้ได้มีการประสานทำงานวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมบ้างแล้ว สำหรับงานวิจัยในขั้นต่อไปคือการศึกษาความคงทนของการเคลือบสารเพื่อให้มีการ ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น และลดว่าในอนาคตจะมีการนำไปทดลองใช้กับกระจกอาคาร เพราะว่าฟิล์มสามารถทำความสะอาดด้วยอนุภาคของตัวเอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในการมองทิวทัศน์ด้านนอกได้ดีขึ้น

นับเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าของงานวิจัยไทยที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ ขับขี่บนท้องถนนมากยิ่งขึ้น

ที่มา : จุลสารก๊าซไลน์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook