การปะยางมีทั้งหมดกี่แบบ? แล้วปะยางแบบไหนจึงจะดีที่สุด?

การปะยางมีทั้งหมดกี่แบบ? แล้วปะยางแบบไหนจึงจะดีที่สุด?

การปะยางมีทั้งหมดกี่แบบ? แล้วปะยางแบบไหนจึงจะดีที่สุด?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ปัญหารถยางแบนถือเป็นปัญหาระดับเบสิกที่เกิดขึ้นได้กับผู้ใช้รถทุกคน แล้วถ้าเผลอขับรถเหยียบตะปูจนยางแบนขึ้นมาจริงๆ ควรเลือกใช้วิธีปะยางแบบไหนจะดีกว่ากัน?

     การปะยางรถยนต์ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 วิธี ประกอบด้วย แบบแทงใยไหม, แบบสตีมร้อน และแบบสตีมเย็น ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันออกไป ดังนี้

1.การปะยางแบบแทงใยไหม

     การปะยางแบบแทงใยไหมเป็นการปะยางที่เหมาะสำหรับใช้ชั่วคราวเพื่อให้สามารถไปถึงจุดหมายหรือร้านปะยางได้โดยปลอดภัย โดยมากเป็นวิธีที่ใช้สำหรับรถจักรยานยนต์ เนื่องจากหาซื้ออุปกรณ์ได้ง่าย (ส่วนมากจะจำหน่ายเป็นชุดสำเร็จรูปที่มีอุปกรณ์มาให้ครบ) สามารถทำเองได้ ใช้เวลาไม่นาน อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องถอดล้อออกมาเหมือนการปะยางด้วยวิธีอื่น

     ขั้นตอนการปะยางแบบแทงไหมนั้น ก่อนอื่นจะต้องดึงสิ่งแปลกปลอมที่ทิ่มเนื้อยางออกมา จากนั้นนำอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแท่งยาวมาแทงเพื่อขยายรูให้กว้างขึ้น แล้วจึงนำใยไหมมาแทงเข้าไปอีกครั้งเพื่ออุดรูรั่ว ใช้กรรไกรตัดส่วนที่ยื่นออกมา เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย แต่วิธีนี้เหมาะสำหรับการปะยางฉุกเฉินเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะยังมีโอกาสที่ลมยางยังคงรั่วซึมออกมาได้

tyre_07

2.การปะยางแบบสตีมร้อน

     การปะยางแบบสตีมร้อนจำเป็นต้องถอดยางออกมาเสียก่อน เนื่องจากเป็นการอุดรอยรั่วด้านในของตัวยาง โดยการใช้แผ่นยางขนาดเล็กมาแปะไว้ที่รอยรั่ว จากนั้นจึงใช้เครื่องกดความร้อนเพื่อสมานเนื้อยางให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน จึงมีความทนทานมากกว่าการปะยางแบบแทงใยไหม และสามารถใช้ยางต่อได้จนกว่ายางจะหมดสภาพ

     ข้อเสียของการการปะยางด้วยวิธีสตีมร้อนจะทำให้เนื้อยางบริเวณนั้นแข็ง และทำให้เกิดโอกาสบวมได้ในอนาคต แต่ก็ยังคงเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

tyre_08

3.การปะยางแบบสตีมเย็น

     การปะยางแบบสตีมเย็นไม่ได้มีความเย็นเข้ามาเกี่ยวข้องหรอกนะครับ หากแต่มีขั้นตอนคล้ายกับการสตีมร้อน โดยจะเป็นการอุดรอยรั่วจากด้านในเช่นเดียวกัน เริ่มต้นจากการขัดผิวยางรอบรูรั่วให้สาก ทากาวแบบพิเศษลงไป จากนั้นจึงแปะแผ่นยางขนาดเล็กเพื่ออุดรอยรั่ว ทุบให้แน่น ก็จะช่วยสมานรอยรั่วไม่ให้ลมยางซึมออกมาได้ ซึ่งวิธีนี้ให้ความทนทานไม่ต่างกับการสตีมร้อน สามารถใช้ยางจนกว่าจะหมดสภาพ และไม่ส่งผลต่อโครงสร้างยางอีกด้วย

     รู้แบบนี้แล้วคุณก็สามารถเลือกวิธีปะยางที่เหมาะสมสำหรับรถของคุณเองได้แล้วล่ะครับ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook