NGV AND LPG จะไปถึงไหน อนาคตรถใช้ก๊าซ

NGV AND LPG จะไปถึงไหน อนาคตรถใช้ก๊าซ

NGV AND LPG จะไปถึงไหน อนาคตรถใช้ก๊าซ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

แม้ว่าภาครัฐจะมีความพยายามที่จะผลักดันพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทนอื่นๆ มาให้ผู้ใช้รถยนต์ได้บรรเทาความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันมาตั้งแต่ปี 2549 ออกมาค่อนข้างเป็นรูปเป็นร่างให้เห็น แต่คนไทยก็ยังเป็นคนไทยอยู่วันยังค่ำ คือ ก่อนลองต้อง “ติ” ไว้เยอะๆ กันก่อน ดังนั้น เรื่องการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนจึงไม่สามารถโน้มน้าวจิตใจของผู้ใช้รถ ให้หันไปพึ่งพาพลังงานทดแทนเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว

        อีกสองปีผ่านไป ต่อเนื่องจนถึงกลางปี 2552 ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันก็เริ่มไต่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนคนใช้รถเริ่มมีอาการรับไม่ไหวกับ การแบกภาระในการเติมน้ำมัน การหันไปคบหากับพลังงานทดแทน และ/หรือพลังงานทางเลือกจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วราวกับไฟไหม้ฟาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่มาในรูปของก๊าซชนิดต่างๆ กลุ่มที่ดัดแปลงโดยอู่ทั่วไปนอกเหนือการดูแลควบคุมของผู้ผลิตและจำหน่าย กลุ่มนี้ดัดแปลงโดยรับทำให้กับรถของเจ้าของรถทั่วไปที่ซื้อรถมาใช้งานเป็น ของตนเอง บริษัทหรือห้างร้านที่รับติดตั้งแก๊สเติบโตขึ้นเป็นดอกเห็ด ใครจะติดตั้งต้องรับบัตรคิวกันยังรอไหว

        สำหรับประเทศไทยก๊าซที่ถูกนำมาใช้กับรถยนต์กว่ายี่สิบปีแล้วคือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือที่รู้จักกันในนามของก๊าซหุงต้ม หรือ LPG ส่วนก๊าซตัวใหม่ที่ทั้งภาครัฐและฝ่ายผู้จำหน่ายคือ ปตท.พยายามผลักดันให้เป็นที่นิยมของคนใช้รถให้ได้ คือก๊าซธรรมชาติอัด หรือ CNG ที่คนไทยเรียกกันในนามของ NGV นั่นเอง แม้ว่าความขัดข้องของการใช้ CNG จะยังมีอยู่มากมาย ทั้งเรื่องของสถานีบริการที่ยังไม่แพร่หลาย ปริมาณการบรรจุก๊าซแต่ละครั้งได้ไม่มากนัก เวลาที่ใช้บรรจุก๊าซแต่ละครั้งค่อนข้างนาน รวมถึงราคาค่าดัดแปลงเครื่องยนต์ที่แพงกว่า แต่ภาครัฐและ ปตท. ก็ยังให้การสนับสนุนด้านราคา และพยายามชี้ให้เห็นอนาคตที่ดีกว่า LPG และพลังงานทางเลือกอื่นๆ ทุกตัว

 

มาทางฝั่งผู้ผลิตรถยนต์กันบ้าง เมื่อรัฐบาลให้การสนับสนุนก็เริ่มสร้างจุดขายใหม่ด้านการประหยัดเชื้อเพลิง ออกมาด้วยการผลิตรถ CNG ออกมา และมีการรับประกันการใช้งานเหมือนเครื่องยนต์มาตรฐานดั้งเดิม โดยมีทั้งรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล

        ถ้าไม่รวมรถยนต์ขนาดใหญ่จำพวกรถบัสและรถบรรทุก รถยนต์ที่ผลิตออกมาจากโรงงานเพื่อให้สามารถใช้กับก๊าซธรรมชาติได้โดยตรง หรือกลุ่มที่ดัดแปลงโดยผู้ผลิตเอง สำหรับกลุ่มนี้ทางด้านรถเก๋งเจ้าแรกที่ผลิตออกมาก็มีเพียง Mercedes-Benz E200 NGT จากนั้นก็ทยอยผลิตตามกันออกมาเรื่อยๆ แต่เป็นกลุ่มที่ดัดแปลงโดยผู้รับเหมาช่วงภายนอก แต่อยู่ภายใต้การดูแลและมาตรฐานของผู้จำหน่าย หรือผู้ผลิต รถยนต์ที่อยู่ในกลุ่มนี้มี Chevrolet เป็นตัวนำในตลาด โดยมีรายอื่นๆ เช่น Hyundai Sonata, Mitsubishi New Lancer CNG และ Proton Persona CNG ส่วนทางด้านตลาดรถปิกอัพช่วงแรกก็มีเพียงแค่ Tata Xenon CNG และทยอยตามออกมากันติดๆ ด้วย Toyota Vigo CNG, Chevrolet Colorado CNG และ Mitsubishi Triton CNG แต่ทั้งนี้ ตัวนำในตลาดของรถเก๋ง CNG ก็ตกเป็นของเชฟโรเลตที่ครองตำแหน่งผู้นำมาตั้งแต่มีรถยนต์ CNG ออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการ เพราะความเป็นเจ้าแรกที่กล้าตัดสินใจนำรุ่น Optra มาลุยก่อนใครนั่นเอง

        กว่า 6-7 ปีแล้วที่กระแสตอบรับและยอมรับรถยนต์พลังงานทางเลือกประเภทก๊าซค่อยๆ เติบโตกันแบบไม่ได้บูมเปรี้ยงปร้าง เพราะคนที่ซื้อใช้ส่วนใหญ่คือผู้ที่ศึกษาข้อดี ข้อด้อยของรถประเภทนี้กันเป็นอย่างดีก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะบางยี่ห้อเคยมีภาพพจน์ดีๆ มีคอนเซปต์เป็นรถสไตล์สปอร์ตซีดานบ้าง แต่พอมาผลิตเป็นแบบก๊าซ คนก็ชักจะงงๆ กับตำแหน่งใหม่ที่ถูกวางเอาไว้ว่า ตกลงจะให้เป็นรถแรง ดูสปอร์ต หรือจะให้เป็นรถครอบครัวแบบประหยัด หรือเป็นรถเพื่อส่งเสริมอาชีพกันแน่ สิ่งนี้เป็นภาระที่บริษัทรถยนต์ที่ผลิตรถยนต์ CNG จะต้องให้ข้อมูลและทำความเข้าใจให้กับลูกค้ากันเอาเอง ตกลงว่า อนาคตรถยนต์ใช้ก๊าซน่าจะพอสรุปได้จากหนทางดังนี้

        1. เมื่อเทียบกับความคุ้มค่าและความประหยัดสุดๆ ด้วยค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย กิโลเมตรละบาทแล้ว อนาคตถือว่าพอไปได้
        2. ในขณะที่ปัจจุบันก็เริ่มมีรถอีโคคาร์จำหน่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนใช้รถ ทั้งประหยัด และไม่ต้องเสี่ยงเหมือนกับใช้รถยนต์ติดก๊าซ (ซึ่งความเสี่ยงไม่สามารถวัดได้ว่าแบบไหนปลอดภัยกว่ากัน เพราะขึ้นอยู่กับคนใช้รถเท่านั้น อนาคตถือว่า อาจจะมีเหนื่อยกันบ้าง
        3. ปั๊มแก๊สที่ยังมีไม่มากเท่าปั๊มน้ำมัน แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการช่วยกระจายให้มากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อไรที่มีปริมาณปั๊มแก๊สพอๆ กับปั๊มน้ำมัน อนาคตถือว่าน่าจะไปได้สวย

        ว่าแต่สังเกตกันไหมว่า ขณะที่รัฐบาลทุกๆ สมัยต่างสนับสนุนให้ประชาชนใช้รถติดก๊าซกันเพื่อช่วยชาติ ประหยัดพลังงานและกันเงินทองรั่วไหลออกนอกประเทศ แต่บรรดา ส.ส. หรือรัฐมนตรีเองก็ไม่เห็นมีใครใช้รถติดก๊าซกันสักคน เห็นแต่รถแพงๆ ระดับล้านจนถึงหลายล้านขึ้นไปที่เป็นทั้งรถประจำตำแหน่งและรถส่วนตัว ใครมีคำตอบให้ได้บ้างครับ

       ในประเทศไทยเริ่มต้นใช้ ก๊าซ LPG เป็นพลังงานในรถยนต์ในปี พ.ศ. 2513 หรือ 39 ปีที่ผ่านมา แต่ได้รับความนิยมอยู่ในกลุ่มรถยนต์สาธารณะ ส่วนปัจจุบันความนิยมที่รถยนต์ส่วนบุคคล ได้เปลี่ยนมาใช้พลังงานก๊าซมากขึ้น เห็นจะเป็นเพราะราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

        เจ้าของรถยนต์ NGV ส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “คุ้มๆ จริงๆ ยิ่งกว่าคุ้ม” โดยเฉพาะประหยัดเงินในกระเป๋าได้เดือนละ 2-3 พันบาท เมื่อเทียบกับใช้รถที่เติมน้ำมัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook