ขับรถแล้ว "พวงมาลัยสั่น" ควรทำอย่างไร

ขับรถแล้ว "พวงมาลัยสั่น" ควรทำอย่างไร

ขับรถแล้ว "พวงมาลัยสั่น" ควรทำอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     คุณเคยไหมครับ? ว่าตอนที่เราขับรถคู่ชีพของเราพอถึงความเร็วช่วงหนึ่ง พวงมาลัยก็เริ่มมีอาการสั่นๆ เหมือนจะเป็นไข้ยิ่งขับเร็วขึ้นไปอีกก็ยังสั่นเพิ่มขึ้นไปมากกว่าเดิม พอเพิ่มความเร็วขึ้นไปอีกระยะหนึ่งกลับสั่นน้อยกว่าเดิมหรือบางคันสั่นมากๆเหมือนจะสั่นกันไปทั้งคัน พาลให้คนขับชักมีอาการ มือสั่น ปากสั่น เท้าสั่น กันไปตามๆกัน จากนี้เรามาหาสาเหตุกันครับว่า อาการสั่นที่เป็นอยู่นี้มีสาเหตุอะไรบ้าง และมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร

    ยาง
เป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของอาการสั่นสาเหตุอาจเกิดจาก การบวมของยาง เนื่องจากยางหมดอายุุการเบรกรุนเเรงแบบ   หน้ายางไถลไปกับพื้น การตกหลุมแรงๆ หรือขับไปทับกับของแข็งจนทำให้โครงสร้างภายในยาง เกิดการเสียหายเปลี่ยนรูปและยางที่ไม่ค่อยได้ใช้ เช่นยางเปอร์เซนต์เก่าหรือรถที่จอดทิ้งไว้นานๆ

   

 

วิธีการตรวจเช็ค                                                                                                                                          
1. ดูแก้มยางหาวัน-เดือน-ปี ทีผลิต ปกติแล้ว อายุการใช้งานไม่ควรเกิน 4 ปี
2. ขึ้นแม่เเรง ให้ล้อหมุนสูงจากพื้น แล้วลองหมุนล้อดู สังเกตอาการหมุนของยางว่ายังกลมดีหรือไม่
3. ถอดล้อและยางไปร้านล้อแม็คที่มีเครื่องถ่วงล้อ ให้ลองถ่วงดูว่ายางมีการบวมหรือไม่ วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องเเม่นยำที่สุด

วิธีการแก้ไข
วิธีเดียวครับคือเปลี่ยนใหม่อย่างเดียว และควรเปลี่ยนโดยเร็วที่สุด เพราะยางสามารถระเบิดได้ หรือยางยืดหลุดจากล้อเมื่อวิ่งความเร็วสูงๆ

ล้อ-แม็ค
ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งไม่แพ้ยางเหมือนกันถ้ากระทะล้อเกิดการบิดเบี้ยวเสียรูป จะมีผลบังคับให้หน้ายางบิดเบี้ยวตามเช่นกันการเสียหายอาจเกิดจากการตกหลุมแรงๆ หรืออุบัติเหตุ เช่นชนฟุตบาท รวมถึงการดัดแปลงนำกระทะล้อมาเจาะรูเองและตะกั่วที่ถ่วงล้อหลุดหาย

วิธีการตรวจเช็ค
1. ขึ้นแม่แรงแล้วหมุนล้อดูอาการแก่วงของล้อและยาง                                                                                      
2. ถอดล้อแล้วสังเกตว่ากระทะล้อมีการบุบเสียรูป หรือมีรอยร้าวตรงไหนบ้าง                                                  
3. ตรวจเช็คดูว่าตะกั่วที่เคยถ่วงอยู่หลุดหายไปหรือไม่ สังเกตจากรอยที่เคยมีรอยกระดาษการเเปะ            
4. นำล้อไปถ่วงเครื่องถ่วงล้อจะเป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด

วิธีการแก้ไข
ถ้าตะกั่วหลุดให้นำไปถ่วงล้อใหม่ หรือมีอาการเบี้ยวหรือคด ยังพอสามารถนำไปซ่อม โดยร้านซ่อมจะนำไฟเป่าแม็คให้ร้อนแล้วเคาะกลับ แล้วถึงจะนำเข้าเครื่องกลึงเพื่อให้แม็คกลมเข้ารูปวิธีนี้เนื้อแม็คจะบางลงสูญเสียความแข็งแรง ถ้ามีอาการแตกร้าวแนะนำให้เปลี่ยนใหม่เสียดีกว่าเพราะถ้าซ่อมอาจทำให้ความสามารถในการรับแรงดันลมยางลดน้อยลดมีโอกาสแตกใหม่ได้หลีกเลี่ยงการเจาะรูที่แม็ค ยกเว้นจะเป็นร้านทีมีความชำนาญ

 

                                                                     ปลอกดุม

เป็นส่วนช่วยให้ล้อแม็คและดุมประคองกันจนตำแหน่งล้อได้เซนเตอร์เวลาใส่ล้อ มักเกิดกับเวลาซื้อแม็คมาเปลี่ยนใหม่่นอกจากขนาด และออฟเซ็ตแล้ว ยังต้องคำนึงถึงไดมิเตอร์ตรงกลางระหว่างดุมกับล้อด้วยว่า มีช่องว่างห่างกันหรือไม่


   วิธีการตรวจเช็ค
ถอดล้อแล้วใช้เครื่องมือวัดความกว้างระหว่างขนาดของดุมล้อ กับรูกลางของแม็คว่ามีระยะห่างหรือไม่หรือถ้าเคยมีอยู่แล้วตรวจดูว่าหายไประหว่างถอดใส่หรือไม่

   วิธีแก้ไข
เลือกซื้อล้อแม็คที่มีรูไดมิเตอร์ตรงกับดุมล้อรถของเรา หรือถ้าไม่ตรงมีช่องว่างควรวัดขนาดของดุมล้อแล้วให้โรงกลึงที่มีความชำนาญ กลึงปลอกดุมให้พอดีกับล้อและดุม

 

จานดิสเบรก
ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้พวงมาลัยสั่นเพราะจานดิสเบรคเป็นโลหะที่ต้องทนความร้อนและเย็นตัวได้อย่างรวดเร็วความร้อนในบางครั้งมีอุณหภูมิหลายร้อยองศาจนร้อนแดงเหมือนเหล็กเผาไฟเลยทีเดียวดังนั้นเมื่อเย็นตัวลงจานดิสเบรกอาจเกิดอาการคดเสียรูปได้ หรือเกิดจากอาการเบรคติด  

วิธีการตรวจเช็ค
ถอดล้อแล้วหาน็อตล้อมาไขให้แน่นพอประมาณหมุนจานเบรกดูว่ามีการแก่วงหรือไม่สังเกตุจากคาริบเปอร์เบรก และผ้าเบรกว่าขยับหรือปล่าวหรือหมุนไม่ไปเลย แสดงว่าจานเบรคคด

วิธีการแก้ไข
ถ้าจานดิสเบรกคดสามารถถอดออกมาแล้วส่งให้ร้านเบรก นำไปเจียรเสียใหม่ หรือถ้าจานมีอาการบางมากๆ เเนะนำให้เปลี่ยนใหม่เสียดีกว่า เพราะถ้าขืนเจียรต่อจานอาจเกิดอาการร้าวหรือแตกได้อย่างง่าย ตรวจล้างแม่ปํ้มเบรคอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเบรกติด หลีกเลี่ยงการเบรกติดต่อกัน เช่น การลงเขา หรือการเบรคอย่างรุนแรงติดต่อกัน สำหรับผู้ที่ต้องใช้เบรกบ่อยๆ และรุนแรงเป็นประจำเเนะนำให้หาจานเบรกซิ่ง ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการแข่งขันเสียเลยดีกว่า

ลูกปืนล้อ
ลูกปืนล้อมีหน้าที่เป็นตัวรองรับน้ำหนักและจุดหมุนของล้อ ถ้าลูกปืนล้อหลวมหรือแตก จะทำให้ล้อแกว่งเสียศูนย์ เกิดเสียงดัง พวงมาลัยสั่น มักเกิดจากจาระบีลูกปืนหมดอายุหรือ ซีลลูกปืนล้อเสียมีฝุ่นและน้ำเข้าได้

วิธีการตรวจเช็ค
1.ขึ้นแม่แรงให้ล้อที่จะตรวจเช็คลอยจากพื้นแล้วหมุนสังเกตุเสียง
2.จับล้อบนล่างแล้วขยับขึ้นลงสังเกตมีอาการหลวมหรือไม่

วิธีการแก้ไข
ถ้าลูกปืนล้อหลวมสามารถปรับตั้งได้โดยถอดปลิ้นล๊อคลูกปืนล้อ แล้วไขให้แน่นแล้วค่อยๆคลายออกสักประมาณ30-45 องศาและลองหมุนดูว่าแน่นขึ้นหรือไม่ ถ้ายังไม่แน่นขึ้น และมีเสียงดังให้ทำการถอด และเปลี่ยนลูกปืนล้อเสียใหม่ ดูแลโดยการเปลี่ยนซีลลูกปืนล้อ ล้างและเปลี่ยนจาระบีอย่างสม่ำเสมอแกน-ดุมล้อถือเป็นแกนหลักในการหมุนของล้อ ถ้าดุมล้อเกิดอาการคตหรือผิดมุมล้อ จะทำให้ล้อเกิดอาการแกว่งไม่ได้เซนเตอร์มักเกิดจากการตกหลุมแรงๆ การเกิดอุบัติเหตุ และการซ่อมแซมรถแบบผิดพลาด

วิธีการตรวจเช็ค
1.ในการตรวจเช็ค ถอดล้อ คาริเปอร์เบรก จานเบรก และลูกปืนล้อออกเสียก่อน สังเกตุว่าดุมล้อมีอาการคดงอหรือไม่ 
2. นำรถเข้าเครื่องตั้งศูนย์ ซึ่งจะสามารถตรวจเช็คว่ามุมล้อเสียศูนย์หรือไม่

วิธีการแก้ไข
ส่วนมากมักต้องเปลี่ยนใหม่สถานเดียว เป็นส่วนสุดท้ายในการแก้ไขปัญหาพวงมาลัยสั่น เพราะตรวจเช็คได้ยากที่สุด
ส่วนช่วงล่างนั้นมักจะไม่ค่อยมีผลต่ออาการพวงมาลัยสั่น แต่จะเกิดอาการเช่นตกหลุมเสียงดัง รถเสียศูนย์
ขับแล้วรถแกว่งไปเเกว่งมาเสียมากกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook